CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
นักวิจัยคณะวิทย์ มช. พัฒนาไบโอเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม
1 ตุลาคม 2564
คณะวิทยาศาสตร์
ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มช. ได้พัฒนาอิมมูโนเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าที่สามารถตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม ได้พร้อมกันถึง 3 ชนิด ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการทดสอบเพื่อการวินิจฉัย ที่มีราคาประหยัด เพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการคัดกรองความเสี่ยง ต่อมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่การลดอัตราการสูญเสียชีวิต จากมะเร็งเต้านมได้ในอนาคต
มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ในผู้หญิงทั่วโลก และมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละปี นอกจากการตรวจทางรังสีวิทยาและการตรวจชิ้นเนื้อแล้วโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (Breast cancer biomarkers) กำลังได้รับความสนใจเนื่องจากจะทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมทางคลินิกยังมีราคาสูงและยากต่อการเข้าถึง
ดร.กุลริศา กันทะมัง ศ.ดร.จรูญ จักร์มุณี และ รศ.ดร.กรธัช อุ่นนันกาศ จากภาควิชาเคมี และศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
ได้พัฒนาอิมมูโนเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าที่สามารถตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมได้ถึง 3 ชนิดพร้อมกัน ได้แก่ Mucin1 (MUC1), Cancer antigen 15-3 (CA15-3) และ Human epidermal growth factor receptor 2 (HER2) ได้เป็นครั้งแรก โดยได้รายงานผลการค้นคว้าในวารสาร Journal of Materials Chemistry B (Impact factor 2020: 6.331)
ไบโอเซ็นเซอร์ดังกล่าวอาศัยการวัดสัญญาณไฟฟ้าที่ขั้ว screen-printed carbon electrode (SPCE) ที่ปรับปรุงด้วยโพรบรีดอกซ์ (Redox probes) ที่แตกต่างกัน และพอลิเอทิลีนอิมมิน-อนุภาคทองคำนาโนที่คอนจูเกตกับแอนติบอดี (Antibodies) ที่จำเพาะต่อสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม 3 ชนิด โดยพบว่าสัญญาณไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าลดลงเมื่อแอนติบอดีเกิดอันตรกิริยากับแอนติเจนที่เป็นสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมในตัวอย่าง นอกจากนี้ไบโอเซ็นเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถวัดปริมาณแอนติเจนชนิดต่างๆ ในระดับอ้างอิงจาก clinical relevant cut-off levels และสามารถประยุกต์ใช้ในตัวอย่าง human serum ได้อีกด้วย
งานวิจัยพื้นฐานดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการทดสอบเพื่อการวินิจฉัยหรือ point-of-care (POC) diagnosis ที่มีราคาประหยัด เพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการคัดกรองความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่การลดอัตราการสูญเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ในอนาคต
อ่านงานวิจัยได้ที่
Kuntamung, K., Jakmunee, J., Ounnunkad, K. A Label-free Multiplex Electrochemical Biosensor for Detection of Three Breast Cancer Biomarker Proteins Employing Dye/Metal Ions-loaded and Antibodies-Conjugated Polyethyleneimine-Gold Nanoparticles
J. Mater. Chem. B
, 2021,9, 6576-6585
IF (2020) = 6.331 (Q1) Scopus
https://doi.org/10.1039/D1TB00940K
งานวิจัยและนวัตกรรม
สุขภาพ
เทคโนโลยี
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: