CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าทูลละอองพระบาทและพระราชทานพรแก่นักวิจัยไทยที่จะเดินทางไปทำวิจัยที่ขั้วโลกใต้ และทวีปแอนตาร์กติกา ประจำปี 2566 ณ วังสระปทุม
29 พฤศจิกายน 2566
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าทูลละอองพระบาทและพระราชทานพรแก่นักวิจัยไทยที่จะเดินทางไปทำวิจัยที่ขั้วโลกใต้ และทวีปแอนตาร์กติกา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.30 น. ณ วังสระปทุม ในโอกาสนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเข้าเฝ้าฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและนักวิจัย ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์ นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล
อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด
เรือเอกธีรศักดิ์ ปัญญาภีรวัฒน์
เจ้าหน้าที่กลุ่มวิจัยระบบนิเวศโลก-อวกาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
นางสาวกชนิภา ไชยน้อย
เจ้าหน้าที่กลุ่มวิจัยระบบนิเวศโลก-อวกาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยนักวิจัยที่จะเดินทางไปยังทวีปแอนตาร์กติกา ประกอบด้วย
เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน
นักวิจัยกลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการฯ ดังกล่าว เกิดขึ้นได้ด้วยพระปรีชาญาณและพระราชวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของ
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในพื้นที่แถบขั้วโลก
ด้วยเหตุนี้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการดำเนิน
โครงการความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด
และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในประเทศประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และหน่วยงานต่างประเทศประกอบด้วย หอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มวิจัยของสาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ มหาวิทยาลัยชอนนัม สถาบันดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศเกาหลี และสถาบันวิจัยขั้วโลกเกาหลี ตลอดจนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ตลอดจนหน่วยงานภาคีความร่วมมือในประเทศและต่างประทศที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยในปี พ.ศ.2566 โครงการฯ จะส่งนักวิจัย 2 คน ไปร่วมปฏิบัติงานในทวีปแอนตาร์กติกา โดย
เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม
จะร่วมปฏิบัติงานกับกลุ่มวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ เพื่อขุดเจาะน้ำแข็ง ณหอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ และ
นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน
จะร่วมเดินทางกับคณะวิจัยของสถาบันวิจัยขั้วโลกเกาหลี โดยนำเครื่องตรวจวัดอนุภาคนิวตรอนแบบเคลื่อนที่ “ช้างแวน” บรรทุกไปกับเรือตัดน้ำแข็ง
“เอราออน”
เดินทางไปเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของรังสีคอสมิกในระดับละติจูดต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติงานในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ ตลอดจนเป็นการเตรียมพร้อมกำลังคนของประทศไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ
ข่าวบุคคลเด่น
งานวิจัยและนวัตกรรม
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
รางวัลและความภาคภูมิใจ
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: