CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
6 โรคยอดฮิตที่ควรระวังในหน้าฝน
16 กรกฎาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
1.โรคไข้เลือดออก
เกิดจาก"ยุงลาย" เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โดยในแต่ละปียังมีคงผู้ติดเชื้อจำนวนมาก มีการระบาดมากในฤดูฝนแต่ก็พบการติดเชื้อนี้ได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษา และไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งเพื่อไม่ให้ยุงลายพักอาศัย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น ที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ หากมีไข้สูงเฉียบพลันให้รีบพบแพทย์ทันที
2. โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส อาหารที่ปรุงไม่สุกพอ หรืออาหารที่ค้างไว้หลายชั่วโมง โดยผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีอาการสูญเสียน้ำภายใน 1 – 2 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิด ประเภท ปริมาณของเชื้อโรค และสารพิษที่ได้รับ แต่หากเกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น ท้องเสียมาก อาเจียนมาก มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ แขนขาอ่อนแรง หากปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับมีไข้สูง ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้
3.โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน ติดต่อจากเชื้อ ไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว 3-7 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2-4 วัน ก่อนมีอาการ จนถึง 1-2 สัปดาห์หลังมีอาการ ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ตํ่าๆถึงไข้สูง อ่อนเพลีย ต่อมา มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมทานอาหารเนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ดังนั้นอย่าให้เด็กมีไข้สูงเกินไป เพราะอาจจะชักได้
4.โรคตาแดง
ฤดูฝน เป็นฤดูที่พบการระบาดของโรคตาแดงหรือ โรคตาอักเสบพบได้บ่อย มากกว่าฤดูอื่น ๆ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน การป้องกัน ล้างมือด้วยน้ำสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา เมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
5.โรคผิวหนัง
ความอับชื้นที่มาพร้อมกับสายฝนอาจก่อให้เป็นผื่นผิวหนังได้ หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกวิธีจะทำให้เกิดโรคผิวหนังจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงผิวหนังอักเสบได้ โดยโรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า ผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อรา ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือใส่รองเท้าบู๊ทยางเมื่อต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง หากเปียกฝนควรรีบทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ หรือเช็ดตัวให้แห้ง ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะความอับชื้นเป็นปัจจัยให้ผิวไวต่อเชื้อแบคทีเรีย และแพ้ง่ายขึ้น
6. โรคเลปโตสไปโรซิสหรือไข้ฉี่หนู
โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เลปโตสไปรา ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์ โดยการติดเชื้อในคนจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่มที่ปนเปื้อนแบคทีเรียดังกล่าว รวมถึงการสัมผัส หรือได้รับแบคทีเรียทางรอยแผลที่ผิวหนัง โดยผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง ตัวเหลือง คลื่นไส้ และอาเจียน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับตับและไต และอาจรุนแรงทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
คำแนะนำ ควรดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานผักและผลไม้ที่มีวิตามิน C, E และเบต้าแคโรทีน เลือกทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ชื้นแฉะและมีน้ำท่วมขัง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และหากร่างกายมีความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
ข้อมูลโดย ผศ.นพ.อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมื
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: