CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
29 ตุลาคม วันโรคหลอดเลือดสมองโลก (WORLD STROKE DAY)
30 ตุลาคม 2566
คณะแพทยศาสตร์
29 ตุลาคม ของทุกปี คือวันโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Day) กำหนดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการดูแลรักษาตนเองและคนรอบข้าง ให้ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต หรือสโตรก เป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกควรตระหนัก ให้ความสำคัญ และรู้จักการป้องกัน
Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง สำคัญอย่างไร ?
โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่สำคัญมากของคนไทย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจขาดเลือด โดยทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 101 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 12.2 ล้านคน (หรือมีผู้ป่วยรายใหม่ 1 คนในทุก 3 วินาที) และเสียชีวิต 6.5 ล้านคน
จากรายงานสถิติสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข ในประเทศไทย พบว่า ในปี 2563 พบผู้ป่วยบางรายที่พิการทุพพลภาพ ซึ่งน้อยมากที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูงถึงขั้นเสียชีวิต และแม้ว่าจะไม่เสียชีวิต แต่อาจทำให้เกิดความพิการระยะยาวได้ ผู้ป่วยต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดชีวิต เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จัดโครงการ “แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 9 เฉลิมพระเกียรติฯ” โดยปีนี้จัดในหัวข้อ “คนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนไทย” โดยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ภายในงาน ประกอบไปด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเป็นดั่งแสงนำใจคนไทยทั้งชาติ และทรงเป็นแบบอย่างในการรักษาสุขภาพและการออกกำลังกายแก่พสกนิกรชาวไทย และนิทรรศการให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ เวทีเสวนา การตอบปัญหาสุขภาพ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันโรคฯ การเผยแพร่แผ่นพับ/โปสเตอร์เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การป้องกัน และการบริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันโรคฯ การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฯ บริการวัดความดันโลหิต และสอนการจับชีพจร และมีการสัญจรให้ความรู้เรื่อง Stroke ไปยังโรงเรียนต่างๆ จากกิจกรรมที่จัดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า หัวใจสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เมื่อเป็นแล้วต้องได้รับการรักษา
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ?
โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก และเกิดความผิดปกติ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือเส้นเลือดสมองตีบ และเส้นเลือดสมองแตก ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้มีวิธีรักษาไม่เหมือนกัน
อาการเหล่านี้ เป็นอาการระบบประสาท สามารถสังเกตได้ตามหลัก F.A.S.T ดังนี้
F = Face ใบหน้าชา ปากเบี้ยว มุมปากตก กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก
A = Arm แขน ขา อ่อนแรง เดินเซ ทรงตัวลำบาก
S = Speech พูดไม่ออก ลิ้นแข็ง หรือ พูดไม่ชัดอย่างทันทีทันใด
T = Time รู้เวลาที่เริ่มมีอาการ คือ รู้ว่าเริ่มมีอาการเป็นเวลานานเท่าใด นับจากที่มีอาการผิดปกติ หรือนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการปกติเป็นครั้งสุดท้าย และรีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการตรวจและวินิจฉัย ภายใน 4.5 ชั่วโมง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ คือ
1. ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ เช่น เพศ ซึ่งเพศชายพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเพศหญิง รวมถึงเชื้อชาติ พันธุกรรม เป็นต้น
2. ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย
การตรวจวินิจฉัยโรค ทำได้ ดังนี้
– การตรวจคัดกรอง (พูดไม่ชัด มุมปากตก ยกแขนไม่ขึ้น) หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ ให้รีบพามาพบแพทย์
– ตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการเอกซเรย์สมอง
แนวทางการรักษา
เมื่อโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน แพทย์จะทำการเปิดหลอดเลือดอย่างเร่งด่วน แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือด เพราะฉะนั้น ยาละลายลิ่มเลือด จะมีช่วงที่ได้ประโยชน์จากการให้ยา ซึ่งจะอยู่ได้ 4.5 ชั่วโมง หลังจากที่มีอาการเท่านั้น โอกาสที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากผู้ป่วยมาโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ภายใน 4.5 ชั่วโมง โอกาสกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ให้รีบมาพบแพทย์ หรือรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669
การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
– ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง
– เลิกสูบบุหรี่
– ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน
– ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
– รับประทานผลไม้และผักให้มากยิ่งขึ้น
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– ลดการดื่มสุรา
อย่างไรก็ตาม หากสมองตีบและแตก เมื่อขาดเลือด อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นภาวะสมองตาย ซึ่งโอกาสที่จะรอดชีวิตนั้นน้อยมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือไม่ได้อยู่ที่การรักษา แต่คือการป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : อ.นพ.ชุติเทพ ทีฆพุฒิ อาจารย์หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: