Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
Sports
Featured
Health
Laws and Regulations
Donations
Technology News
Religions
Journals
Articles on CMU 60 Years
About CMU
Background
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
CMU Corporate Identity
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Other related links
CMU First Year
CMU IT Life
Exchange Programs
Photo & News Archive
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
Privacy Policy
Contact
ภาษา
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
ศูนย์ China Intelligence Center วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาธุรกิจไทย-ลาว สมาคมนักธุรกิจไทยในจีนภาคตะวันตกเฉียงใต้ และ 5 หอการค้าจังหวัดภาคอีสาน ( หอการค้าจังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย) จับมือลงนามความร่วมมือเพื่อสร้างช่องทางพัฒนาผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดจีนผ่านช่องทาง CBEC
14 กุมภาพันธ์ 2567
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดี และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.จตุรงค์ บุนนาค ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว และคุณจันทร์จิรา อนันต์ชัยพัฒนา นายกสมาคมนักธุรกิจไทยในจีนภาคตะวันตกเฉียงใต้ ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อสร้างช่องทางผลักดันสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีนผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน หรือ CBEC ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของรัฐบาลจีน (ที่ต้องการลดการเกินดุลการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน) ผ่านการอนุญาตให้สินค้าที่อยู่ในพิกัดศุลกากรพิเศษที่มากกว่า 1,650 พิกัดภาษีฯ สามารถเข้าจำหน่ายในตลาดประเทศจีนได้ผ่านแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน
อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยส่งเสริมนำเอาสินค้าคุณภาพสูงของกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มหอการค้าอีสานห้าจังหวัดนำร่องได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น มุกดาหาร อุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย เพื่อเข้าสู่แพลตฟอร์มเรียนรู้การขายผ่าน CBEC ที่พัฒนาโดยศูนย์ CIC CAMT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อทำการทดลองตลาด และทำความเข้าใจกระบวนการเข้าสู่ตลาดจีนจากการฝึกฝนจริง จากนั้นจึงทำการคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพสูงเพื่อเข้าสู่แพลตฟอร์ม CBEC เต็มรูปแบบผ่าน CBEC คุนหมิงที่มีเครือข่ายร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อไป กระบวนการทั้งหมดจะช่วยให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีนได้จริง ส่งเสริมให้เกิดมูลค่าการค้าผ่านรูปแบบการค้าชายแดนด้วยช่องทาง CBEC ที่จะทำให้ด่านศุลกากรทางถนนที่ อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย และการขนส่งระบบรางจากจังหวัดหนองคาย เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟลาว-จีน ที่นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว กลายเป็นประตูการค้าสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทย
ดร.จตุรงค์ บุนนาค ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว กล่าวว่า มิติความร่วมมือระหว่างสภาธุรกิจไทย-ลาว กับศูนย์ CIC มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสมาคมนักธุรกิจไทยในจีนภาคตะวันตกเฉียงใต้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีนผ่านช่องทาง CBEC เท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมกับผู้ประกอบการ SMEs ประเทศลาว และบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของลาว เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระบบโลจิสติกส์ และระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนที่มีผลต่อต้นทุนธุรกรรมของ SMEs และทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการลาวเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการค้าให้กับทั้งสองประเทศได้
ขณะที่คุณจันทร์จิรา อนันต์ชัยพัฒนา นายกสมาคมนักธุรกิจไทยในจีนภาคตะวันตกเฉียงใต้ กล่าวว่าปัจจุบัน คลังสินค้าทัณฑ์บนที่คุนหมิงสามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จีนได้หลากหลายแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น “Pin Duo Duo” “Taobao global” “Tmall Global” รวมไปถึง แพลตฟอร์ม “Kuai Shou” ที่เป็นรูปแบบแพลตฟอร์มนำเสนอสินค้าแบบคลิปวีดีโอสั้นโดย Influencer จีน ที่ทำให้รูปแบบการขายและโลจิสติกส์ด่วนในตลาดปลายทางสามารถเข้าถึงกลุ่มพื้นที่ตลาดใหม่ยุคดิจิทัลของจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ กล่าวสรุปว่ากระบวนการทั้งหมดที่ถูกออกแบบจนนำไปสู่ Supply chain solution สำหรับ CBEC ที่ครบวงจรดังกล่าว จึงเป็นที่มาของบันทึกความร่วมมือเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสินค้าไทย และสร้างกำลังคนด้าน CBEC ไทย-จีน ซึ่งถือเป็นพันธกิจของศูนย์ CIC CAMT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับงบประมาณวิจัยทั้งจาก “หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท)” และ “กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง” เพื่อทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้าน CBEC ของภูมิภาคเชื่อมโยงการค้าและการขนส่งทางบกระหว่างจีน-อาเซียน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: