สถาบันวิจัยสังคม

Social Research Institute

"การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาสังคมในภูมิภาคเอเชียและนำพาล้านนาสู่ระดับโลก"

เข้าสู่เว็บไซต์
ชื่อส่วนงาน
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Social Research Institute, Chiang Mai University

ที่ตั้ง
เลขที่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5394 -2561 โทรสาร 0-5394-2572

ประวัติความเป็นมา
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ได้เริ่มขึ้นโดยกลุ่มคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ.2519 มหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งเป็นศูนย์ภายใน คณะสังคมศาสตร์ ใช้ชื่อว่า "ศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์" ได้รับอนุมัติให้บรรจุ " โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยสังคม " เป็นโครงการใหม่ในแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 4 (พ.ศ.2520 - 2524) ต่อมา ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยยกฐานะโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยสังคม ขึ้นเป็น "สถาบันวิจัยสังคม" ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2524“ศึกษาอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบัน ศึกษาปัจจุบันเพื่อช่วยสร้างอนาคต” ยกระดับจาก Local สู่ Global พร้อมก้าวไปสู่ “World Class Lanna”
ศูนย์กลางการอ้างอิงด้านล้านนาและศูนย์กลางการเรียนรู้ (Lanna Study Center)
สร้างหลักสูตร International Short Training (Non - Degree Program) และหลักสูตรสำหรับคนในพื้นที่
เป็นแหล่งทุน เชื่อมโยง สนับสนุนการทำงานล้านนา ปราชญ์ นักวิจัย องค์กรภายนอก หน่วยงานชุมชน
รื้อฟื้นภูมิปัญญา สนับสนุน Lanna Art Innovative Product

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง
1. เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการด้านล้านนาคดี
2. เพื่อสร้างผลงานทางวิจัยพหุวิทยาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและตอบสนองนโยบายรัฐบาล
3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่ นักศึกษา นักวิชาการ ภาคเอกชน ชุมชน และหน่วยงานของรัฐทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศและนานาชาติ
4. เป็นศูนย์สารสนเทศทางสังคมของภาคเหนือ
5. เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปรัชญา
ศึกษาอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบัน ศึกษาปัจจุบันเพื่อช่วยสร้างอนาคต
“Study the past to understand the present, Study the present to help plan in the future”

ปณิธาน
สถาบันวิจัยสังคมต้องเป็นแหล่งให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมและชุมชน ทั้งด้านสังคมศาสตร์และล้านนาคดี

วิสัยทัศน์
การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาสังคมในภูมิภาคเอเชียและนำพาล้านนาสู่ระดับโลก
Leading Regional Research Center for Social Development and World Class Lan Na Studies

พันธกิจ
1. เปิดพื้นที่และให้บริการสู่การเป็น Cultural Exchange Junction ระดับชาติและนานาชาติ
     - ผสานการทำงานระหว่างบุคลากรสถาบันฯ กับคณะ/มหาวิทยาลัยอื่น ผู้เกษียณอายุ ปราชญ์ล้านนา
     - ผลักดันล้านนาจาก Local สู่ National and Global โดยเชื่อมโยงเมืองประวัติศาสตร์ชาติและงานที่มี Impact
     - บ่มเพาะคนและองค์ความรู้ Incubator Knowledge Space
2. วิจัยเชิงลึกที่มีคุณภาพสูงและสร้างผลกระทบสูงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เชิงนโยบาย เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยใช้เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
3. บริการวิชาการแก่ชุมชน สังคมเมือง และถิ่นทุรกันดาร

เป้าหมาย / Goals
1. International Cultural Exchange Junction: Paper/ Well known Researcher / Exhibition / Conference
2. Lan Na in World Class Recognition – UNESCO Creative City Network, World Heritage, World Craft City
3. Eco - Friendly and Happy Work Place