CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
News
14 October 2021
Faculty of Medicine
ทางการแพทย์แผนจีนมีมุมมองสุขภาพเป็นแบบองค์รวม การขาดสมดุลย่อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ซึ่งสมดุลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจากสมดุลภายในร่างกาย และสมดุลระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความไม่สมดุลจะทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย หากต้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควรเริ่มจากการปรับสมดุลของสภาพร่างกาย เนื่องจากแต่ละคนมีสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีการที่ใช้ในการปรับสมดุลของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน
ยกตัวอย่างการปรับสมดุลโดยใช้ทฤษฎีของ หยิน-หยาง โดยหยินเป็นตัวแทนของความเย็น และหยางเป็นตัวแทนของความร้อนหรือความอบอุ่น ยกตัวอย่างเหตุการณ์ เมื่อมีคน 2 คนนั่งทำงานในห้องแอร์ด้วยกัน คนที่หนึ่งรู้สึกว่าอากาศเริ่มเย็นจึงหาเสื้อกันหนาวมาใส่เพื่อให้ตัวเองรู้สึกอบอุ่นขึ้น ลักษณะแบบนี้ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกว่า “การบำรุง” ในขณะที่คนที่สองไปลดอุณหภูมิของแอร์หรือเปิดหน้าต่าง ลักษณะแบบนี้ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกว่า “การระบาย”
ปัจจัยที่ทำให้เราเจ็บป่วยในทางการแพทย์แผนจีน นอกจากปัจจัยภายในแล้วยังมีปัจจัยภายนอกซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย ดังนั้นในฤดูกาลต่าง ๆ และสภาพอากาศที่แตกต่างกันจึงมีวิธีการดูแลตัวเองที่แตกต่างกันด้วย
ความชื้นที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เปรียบเสมือนน้ำที่คั่งค้างอยู่ภายในร่างกายปริมาณมาก ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวขึ้น ความชื้นมักเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่
1.ความชื้นที่ได้รับเข้ามาจากภายนอก เช่น การอยู่อาศัยในที่อับชื้น สภาพอากาศที่ชื้น การใส่เสื้อผ้าที่เปียกเป็นประจำ การตากฝน
2.ความชื้นที่สร้างขึ้นภายในร่างกาย เช่น การที่เรารับประทานอาหารแล้วร่างกายของเราไม่สามารถย่อยหรือลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำให้สารอาหารเหล่านั้นตกค้างอยู่ภายในร่างกายจนเกิดเป็นความชื้นขึ้น นอกจากนี้อวัยวะไตก็มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายเช่นกัน เราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เช่น หากเราดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย ปกติร่างกายจะขับน้ำส่วนเกินออกทางปัสสาวะ หากอวัยวะไตอ่อนแอลงจนไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกได้หมด ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำภายในร่างกายและเกิดเป็นความชื้นขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น แพทย์แผนจีนจึงมองว่าความชื้นที่เกิดขึ้นภายใน มีความเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและการทำงานของไต
ความชื้นที่สะสมภายในร่างกายที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่
1.ร้อนชื้น เกิดจากการที่มีฝนตกในช่วงที่มีอากาศร้อน
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยคือ ความรู้สึกหนักตัว ตัวร้อนหรือมีไข้ มักเกิดขึ้นในช่วงบ่าย ปากแห้งคอแห้ง แน่นหน้าอก ปัสสาวะมีสีเข้ม
2.เย็นชื้น เกิดจากการที่มีฝนตกติดต่อกันในช่วงที่อากาศเย็น
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ความรู้สึกหนักตัว มือเท้าเย็น ปวดเมื่อยได้ง่าย อาจมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตก
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าภายในร่างกายเริ่มมีความชื้นสะสม
1.หลังจากตื่นนอนในตอนเช้ามีความรู้สึกหนักตัว ไม่สดชื่น อ่อนแรง มึนงง
2.เบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้อง
3.อุจจาระเหลว เหนียว หรืออาจมีกากอาหารที่ยังไม่ย่อยปะปนออกมาด้วย
4.มีความรู้สึกเหนียวในช่องปาก ลิ้นมีฝ้าหนา หรือมีเสมหะ
5.ในผู้หญิง อาจมีปริมาณของตกขาวเพิ่มมากขึ้น
โรคหรืออาการที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน
1.โรคหวัด โรคภูมิแพ้ (เช่น ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น)
2.อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ ถ่ายเหลว เป็นต้น
3.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
การดูแลตัวเองในช่วงหน้าฝนเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของความชื้นภายในร่างกาย มีหลักการง่าย ๆ 2 ประการ ได้แก่
1.หลีกเลี่ยงการรับความชื้นจากภายนอก เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับชื้น การเดินตากฝน หรือการใส่เสื้อผ้าเปียก
2.หลีกเลี่ยงอาหารฤทธิ์เย็น ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เช่น น้ำแข็ง น้ำเย็น ไอศกรีม ปลาดิบ ผักสด สลัดผัก ผลไม้บางประเภท เช่น แตงโม แก้วมังกร ชมพู่ สาลี่ เป็นต้น รวมไปถึงอาหารทอด มัน อาหารที่มีรสหวานจัด
นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
สำหรับอาหารที่ควรรับประทานในช่วงหน้าฝน ได้แก่ อาหารที่มีรสจืด เช่น หัวไชเท้า ฟักทอง ต้นหอม ถั่วแดง ลูกเดือย เป็นต้น เนื่องจากอาหารรสจืดในทางการแพทย์แผนจีนส่วนใหญ่นั้นมีสรรพคุณในการขับความชื้นได้
โดยลูกเดือย และถั่วแดงเป็นอาหารที่ถูกนำมาใช้บ่อยในการขับความชื้น เนื่องจากสามารถนำมาประกอบได้หลากหลาย เช่น สามารถนำมาทำเป็นโจ๊ก ข้าวต้ม หรือนำมาหุงร่วมกับข้าวสวย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วย สำหรับคนที่ขี้หนาวสามารถใส่ลำไย พุทราจีน หรือขิง ที่มีฤทธิ์อุ่น ร้อนเข้าไปได้ อย่างไรก็ตามลูกเดือย และถั่วแดงก็ไม่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะบ่อย
รับฟัง MED CMU ฟัง for health ผ่านช่องทาง Apple Podcasts : https://apple.co/3i3b3XX
ข้อมูลโดย แพทย์จีน กลวัชร แสงสูง
แพทย์จีนประจำศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สื่อสารองค์กรMedCMU
Health
Outstanding News
Gallery
×
RoomID:
Room Name:
Description: