กิจกรรม เปิดพื้นที่สู่การเรียนรู้ พื้นที่ประวัติศาสตร์ เวียงเจ็ดลิน
27 สิงหาคม 2566
ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกิจกรรม เปิดพื้นที่สู่การเรียนรู้ พื้นที่ประวัติศาสตร์ เวียงเจ็ดลิน ตามโครงการลำเหมืองที่หายไป ว่าด้วยการพลิกฟื้นและจัดการทุนวัฒนธรรมที่เกิดจากสายน้ำ ภายใต้กรอบการวิจัย การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2566 ในการศึกษาเรียนรู้ต้นกำเนิดน้ำ หรือคลองส่งน้ำจำนวน 7 สาย ซึ่งคำว่า ลิน หมายถึง รางริน และ คำว่า “เจ็ดลิน” ก็หมายความถึง รางรินทั้งเจ็ด แต่จะหมายถึง มีรางรินอยู่ 7 แห่ง หรือว่า มีรางรินอยู่ทั้งหมด 7 ราง ตลอดจนการศึกษาลักษณะกายภาพของเวียงเจ็ดลิน ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา รูปร่างเป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร มีพื้นที่สูงด้านตะวันตกและลาดเทมาทางตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันตกสูงกว่าบริเวณอื่นมาก ทำให้ด้านนี้ไม่จำเป็นต้องมีคันดิน ส่วนด้านอื่น ๆ เป็นคันดินสองชั้น มีคูน้ำอยู่ระหว่างกลาง แต่ปัจจุบันบางแห่งถูกทำลายลง แต่คันดินที่สมบูรณ์จะอยู่บริเวณสวนรุกขชาติห้วยแก้ว ส่วนคันดินชั้นนอกถูกทำลายลงไปมากแต่ยังพอเห็นได้ในบางช่วง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สวนรุขชาติห้วยแก้ว สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี : เวียงเจ็ดลิน https://th.wikipedia.org/wiki/เวียงเจ็ดลิน