กิจกรรมติดตามผลการถ่ายทอดความรู้ ถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนกระบวนการของแม่ครูผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อนำเสนอต้นทุนทางวัฒนธรรมหลักสูตร “แม่ครูช่างฟ้อนลายเมือง”
-------------------------------------------
หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อนำเสนอต้นทุนทางวัฒนธรรมหลักสูตร “แม่ครูช่างฟ้อนลายเมือง” ซึ่งดำเนินการอบรม ระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม 2567 จำนวน 14 ครั้ง ณ ห้องประชุม สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ทางโครงการฯ ได้กำหนดให้มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการถ่ายทอดความรู้ ถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนกระบวนการของแม่ครูช่างฟ้อนลายเมืองที่เข้ารับการอบรมอย่างใกล้ชิด โดยกิจกรรมประกอบด้วย การสาธิตการฟ้อนเมืองของคณะช่างฟ้อน สาธิตการสอนและการถ่ายทอดความรู้ของแม่ครูช่างฟ้อนลายเมืองให้กับสมาชิกในคณะช่างฟ้อน การถ่ายภาพนิ่ง และการสัมภาษณ์แม่ครูช่างฟ้อนลายเมือง ในระหว่างเดือนสิงหาคม - เดือนกันยายน ขณะนี้ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามแล้วจำนวน 18 คน โดยอีก 2 คน จะลงพื้นที่ติดตามในวันที่ 6 ตุลาคม 2567 นี้
การลงพื้นที่ติดตามผลฯ ในครั้งนี้ พบว่า แม่ครูช่างฟ้อนลายเมืองได้นำความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนไปถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติให้กับคณะช่างฟ้อนของตนเองได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีขยายผลความร่วมมือไปยังผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ หน่วยงาน องค์กร และกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งคณะกรรมการติดตามผลฯ ได้ให้กำลังใจ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยผลจากการดำเนินกิจกรรมจะเป็นโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเครือข่ายอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมของเครือข่ายในการจัดกิจกรรม “ต๋ามผางปะตี๊ด ส่องฟ้า ฮักษาเมือง” ครั้งที่ 13 โดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลยี่เป็งจังหวัดเชียงใหม่
สำหรับโครงการช่างฟ้อนลายงาม : การส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนาสู่เทศกาลเมืองเชียงใหม่ มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมและทดลองปฏิบัติการสร้างพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืน ถ่ายทอดความรู้พัฒนาทักษะการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานอย่างมีส่วนร่วม รวมถึงเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และสร้างการรับรู้ด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในระดับชาติและระดับสากล
รายชื่อ “แม่ครูช่างฟ้อนลายเมือง” ที่ได้รับการติดตามผลการถ่ายทอดความรู้ ถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานเรียบร้อยแล้ว ได้แก่
1. ดอกแก้ว พุทธมโนธรรม คณะช่างฟ้อนศูนย์เรียนรู้บ้านดอกแก้ว ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
2. ปรานอม จตุรทิศพิทักษ์ คณะช่างฟ้อนสันพระนอนดอนปิน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
3. แสงหล้า จันทคลักษณ์ คณะช่างฟ้อนสันพระนอนดอนปิน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
4. กันยาวีร์ สิงห์แก้ววริศ คณะช่างฟ้อนศูนย์การเรียนรู้ภมิปัญญาฟ้อนเมืองบ้านครูเอจิดาภา ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
5. นวลตา เจริญใจ คณะช่างฟ้อนฮักฟ้อนจอมทอง ณ ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
6. จุรีรัตน์ วงค์แสน คณะช่างฟ้อนลีลาวดี ณ ตำบลหนองควาย อำเภอเมือง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
7. จุรีพร สุดใจ๋ คณะช่างฟ้อนชมรมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
8. มณีกานต์ หอมชื่น คณะช่างฟ้อนชมรมบ้านเอื้อฯรักษ์ไทย ณ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
9. พรรณี มาศรี คณะช่างฟ้อนบ้านโป่ง หมู่ 2 ณ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
10. มาลี บุญลอย คณะช่างฟ้อนบ้านโป่ง หมู่ 2 ณ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
11. วศิริพร แสนสมใจ คณะช่างฟ้อนศูนย์เรียนรู้บ้านดอกแก้ว ณ ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
12. ฐณพร สมชัย คณะช่างฟ้อนชมรมรักษ์สุขภาพบ้านท่อ ณ ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
13. กนกวรรณ สิทธิรักษ์ คณะช่างฟ้อนสวธ. หนองหอยเอื้องหลวงเสาหิน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
14. กัลยา คำทะลา คณะช่างฟ้อนกลุ่มจิตอาสาบ้านท่าศาลาป่ากล้วย ณ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่
15. พวงผกา พรหมมา คณะช่างฟ้อนศรีสุขประเสริฐวัดน้ำโจ้ ณ ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
16. ดวงเดือน บุญการณ์ คณะช่างฟ้อนกลุ่มศรีสุพรรณ ตำบลหนองแกว๋ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
17. กันทรากร บุญไทย คณะช่างฟ้อนเอื้องแซะเวียงละกอน หมู่ 2 ณ ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
18. ธันย์ชนก พลเมฆ คณะช่างฟ้อนสะพานขาวทาชมพู หมู่ 2 ณ ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
กิจกรรมครั้งนี้ จัดโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาฟ้อนเมืองบ้านครูเอ จิดาภา (เครือข่ายช่างฟ้อนลายงาม ภายใต้โครงการช่างฟ้อนลายงาม : การส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนาสู่เทศกาลเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการ Creative Lanna Co-Communication กิจกรรมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#โครงการช่างฟ้อนลายงามการส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนาสู่เทศกาลเมืองเชียงใหม่ #แม่ครูช่างฟ้อนลายเมือง #CTRD #MDRI #ACCL #CL #CMU #CREATIVELANNA #ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว #สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ #เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ #ศูนย์การเรียนรู้ฟ้อนเมืองบ้านครูเอจิดาภา #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์