ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และสำนักหอสมุด มช. ร่วมกันจัดการศึกษานำร่องเพื่อศึกษาผลการใช้สุนัขบำบัดเพื่อบรรเทาความเครียดในนักศึกษามหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยผลของการเล่นกับสุนัขบำบัดแบบมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มกราคม ๒๕๖๗

8 มกราคม 2567

คณะสัตวแพทยศาสตร์

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันจัดการศึกษานำร่องเพื่อศึกษาผลการใช้สุนัขบำบัดเพื่อบรรเทาความเครียดในนักศึกษามหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยผลของการเล่นกับสุนัขบำบัดแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยทำการเปรียบเทียบระดับความเครียดช่วงก่อนและหลังการเล่นกับสุนัขบำบัด ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทำการจองคิวผ่านระบบและลงทะเบียนหน้างานเพื่อร่วมทดสอบระดับความเครียดของตนเอง กิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ True lab ชั้น ๑ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ถือเป็นวัยที่อยู่ในช่วงการพัฒนาทางความคิด หลายคนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย บทบาทชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยด้านบุคลิกภาพส่วนตัวซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดในนักศึกษา และแม้ว่าความเครียดที่อาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยจะถือเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์ แต่ความเครียดระดับสูงและยาวนานก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้ แนวทางการแก้ปัญหาความเครียดสามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งรวมถึงการใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อช่วยในการลดความเครียด อาทิ การใช้สุนัขบำบัด เป็นต้น

สำหรับนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมวิจัยเพิ่มเติม ...

  • เอกสารชี้แจงสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย อายุ 20 ปีขึ้นไป  https://cmu.to/DAT20
  • เอกสารชี้แจงสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอายุต่ำกว่า 20 ปี  https://cmu.to/DATunder20


ฟอร์มเพื่อสมัครเข้าร่วมวิจัย https://cmu.to/DATregister


ที่มา : https://vmcmu.vet.cmu.ac.th/blog-detail-new?lang=th&id=386 

แกลลอรี่