นักวิจัย MDRI ร่วมเปิดตัวโครงการ การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะเป็นศูนย์ในภาคการบริการและการท่องเที่ยว (Curriculum Development for Zero Waste Management in the Hospitality and Tourism Sector)

23 มกราคม 2568

สถาบันวิจัยพหุศาสตร์

วันที่ 20 มกราคม 2568 คุณธิตินัดดา จินาจันทร์ นักวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ เข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการ การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะเป็นศูนย์ในภาคการบริการและการท่องเที่ยว (Curriculum Development for Zero Waste Management in the Hospitality and Tourism Sector) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรชั้นนำหลายแห่ง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกลุ่มวิจัย Innovative research and Computational Science Lab วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี ร่วมกับ ภาควิชาท่องเที่ยวคณะมนุษยศาสตร์ และหน่วยงานภายในอื่น ๆ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยพลังงานนครพิงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ร่วมกันจัดงานเปิดตัวโครงการ การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะเป็นศูนย์ในภาคการบริการและการท่องเที่ยว (Curriculum Development for Zero Waste Management in the Hospitality and Tourism Sector) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรชั้นนำได้แก่
1. คณะบริการและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
2. มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)
3. มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต (Savannakhet University)
4. มหาวิทยาลัยยูนนาน (Yunnan University), ประเทศจีน
5. มหาวิทยาลัยเฉิงตู (Chengdu University), ประเทศจีน
6. Fundaci? Universit?ria Balmes (UVIC-UCC), ประเทศสเปน
7. Harokopio University of Athens (HUA), ประเทศกรีซ
8. Symplexis, ประเทศกรีซ
9. สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปภายใต้โครงการ ERASMUS-EDU-2024-CBHE โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรและทักษะด้านการจัดการขยะในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ที่สำคัญของหลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เช่น ขวดน้ำ ถุงพลาสติก และบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว โดยโครงการ Tourism-Zero จึงเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการจัดการขยะและการบริหารจัดการทรัพยากรในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว ด้วยแนวคิด “Zero Waste” หรือการลดการเกิดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยมุ่งสร้างความตระหนักรู้แก่บุคลากรในภาคการศึกษาและแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีหลักสูตรการศึกษาที่มีความทันสมัยโดยบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับหลักสูตรของหน่วยงานเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนเป็นระยะเวลา 3 ปี (2567-2569)
สำหรับงานเปิดตัวโครงการ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล รองอธิการบดี กล่าวเปิดโครงการและร่วมลงนามข้อตกลงโครงการร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานภายในโครงการ โดยในงานมีตัวแทนผู้บริหารจากคณะต่างๆ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวี จันทร์ส่อง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์, ดร.เจนจิรา อาษากิจ ผู้ช่วยคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ตัวแทนคณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาหฤท นิตยวรรธนะ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยพลังงานนครพิงค์, นายเก่ง ชัยวารินทร์ รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานในโครงการในส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธศักดิ์ ฉัตรแก้วนภานนท์ หัวหน้าภาควิชาท่องเที่ยวในฐานะ Project Manager, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร Project Manager, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ในฐานะ Project Coordinator, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุไรวรรณ หาญวงค์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พฤกษ์ อักกะรังสี, รองศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ใจผ่อง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล คงจิตต์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพร รีวีระกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภคินี อริยะ และ นางสาวธิตินัดดา จินาจันทร์
โครงการนี้เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะมหาวิทยาลัยที่เป็นกลางด้านคาร์บอน และวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จะสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญในภาคการท่องเที่ยวและการบริการ ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยได้
แกลลอรี่