หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Effect of Electroejaculation Protocols on Semen Quality and Concentrations of Testosterone, Cortisol, Malondialdehyde, and Creatine Kinase in Captive Bengal Tigers ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Animals (Published : 6 June 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI / Scopus Quartile 1 Journal Impact factor 3.231
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2076-2615/13/12/1893
งานวิจัยเรื่อง Effect of Electroejaculation Protocols on Semen Quality and Concentrations of Testosterone, Cortisol, Malondialdehyde, and Creatine Kinase in Captive Bengal Tigers มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการรีดน้ำเชื้อในเสือโดยการเปรียบเทียบการหลั่งน้ำเชื้อในขั้นตอนการรีดน้ำเชื้อในกำลังไฟ (voltage) ที่แตกต่างกัน รวมทั้งเพื่อวัดระดับฮอร์โมน cortisol, testosterone, MDA, seminal plasma MDA และ creatine kinase ในซีรั่มทั้งก่อนและหลังการรีดน้ำเชื้อด้วยวิธี electroejaculation (EE) series เพื่ออธิบายผลของการรีดน้ำเชื้อต่อกลไกการทำงานของต่อมหมวกไตและอัณฑะ (adrenal-testicular function) และกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle function) สำหรับเพื่อหาผลของการรีดน้ำเชื้อสำหรับการเก็บคุณภาพน้ำเชื้อที่ดีจากเสือ เพื่อให้มีผลเสียต่อเสือน้อยที่สุดทั้งทางด้านสรีรวิทยาและสวัสดิภาพของสัตว์