เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ดร.รชพรรณ ฆารพันธ์ นักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักศึกษากลุ่ม Young Raksa สาขาภาพยนตร์ดิจิทัล คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมถ่ายความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน ออกแบบสติ๊กเกอร์ไลน์ กิจกรรม Workshop “ของดีบ้านฉัน” พร้อมทั้งทดลองการไลฟ์สดและแนะนำผลิตภัณฑ์โดยพ่อครู-แม่ครูภูมิปัญญาในพื้นที่ตำบลหารแก้ว อำเภอหาดง จังหวัดเชียงใหม่ ในโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาฟ้อนเมืองบ้านครูเอ จิดาภา ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
??ณ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาฟ้อนเมืองบ้านครูเอ จิดาภา ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพ่อครู-แม่ครูภูมิปัญญาในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมและสาธิตผลิตภัณฑ์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1. นายลือ ทองดอกแดง ด้านหัตถกรรมปูนปั้นล้านนา
2. นายองอาจ เพิ่มพูน ด้านการทำหมวกสานใบมะพร้าว ไม้กวาด โคมแขวน
3. นายประยูร คำเขียว ด้านงานจักสานขวดน้ำและคนโท
4. นางวิไล ตมป่า ด้านการพับดอกกุหลาบใบเตยและมัดช่อ
5. นายภีรเดช ศรีบุญเรือง ด้านศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม
6. นางบุญสืบ ตมป่า ด้านหัตถกรรม การทำสวยดอกชนิดต่างๆ
7. นายสุทิน เฉนะ ด้านการแต่งกายนุ่งซิ่นบ้วง แต่งหน้า ทำผมช่างฟ้อนเมือง
8. นางดรุณี นันโท ด้านเครื่องปั้นดินเผา
9. นายทรงวุฒิ พิมสาร ด้านงานลวดลายประดับตกแต่งภายในวัด ซุ้มประตู หน้าต่าง
10. นางจิดาภา นามศรีแก้ว ด้านภูมิปัญญาการฟ้อนเมือง
?? เป้าหมายของโครงการในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมและพัฒนาเรื่องราวผลิตภัณฑ์ในชุมชนนำมาจัดทำเป็นโปรแกรมการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ในการสร้างรายได้-ลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือน รักษา พัฒนาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ตำบลหารแก้ว) และพัฒนาช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์
#CTRD #MDRI #CMU #ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น