โรคภูมิแพ้

14 กุมภาพันธ์ 2565

คณะแพทยศาสตร์

โรคภูมิแพ้เกิดจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ไวเกิน และมีปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นไรฝุ่น ละอองเกสร อาหารหรือสัตว์เลี้ยง เกิดขึ้นในระบบของร่างกาย และทั่วร่างกายได้
ระดับความรุนแรง
รบกวนชีวิตประจำวัน หรือรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตไป ในกรณีที่แพ้รุนแรงทั่วร่างกาย
โรคภูมิแพ้เกิดจากระบบไหนของร่ายกายบ้าง
เกิดขึ้นได้หลายระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อาหารและยา หรือแม้กระทั่งภูมิแพ้ที่ตา
อุบัติการณ์โรคภูมิแพ้ในประเทศไทย
-โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นมากที่สุด
-โรคหอบหืดจากภูมิแพ้ 10-15 เปอร์เซ็นต์
-โรคผื่นผิวหนังอักเสบ โรคภูมิแพ้ 15 เปอร์เซ็นต์
-โรคแพ้อาหาร 5 เปอร์เซ็นต์
อาการที่แสดง
-ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้: มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก จาม
โรคหอบหืดจากภูมิแพ้: มีอาการไอ แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด
-ภูมิแพ้ผิวหนัง
ผื่นแดงคันเรื้อรัง
ผิวหนังแห้งลอก ส่วนใหญ่มักเป็นตามข้อพับ แขนขา และลำคอ
-ภูมิแพ้อาหารและยา
ผื่นคันแบบลมพิษ
หน้าบวม
ปากบวม
แน่นคอ
แน่นหน้าอก
เป็นลม หมดสติ
ความดันโลหิตต่ำ ถึงขั้นเสียชีวิตได้
-ภูมิแพ้ทางตา
เยื่อบุตาอักเสบ
คันตาเคืองตา
ตาแดง
ขยี้ตาเยอะผิดปกติ
ตาบวม
ประเภทสารก่อภูมิแพ้
ประกอบด้วย 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1.สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น(พบมากที่สุด) ขนสัตว์ ละอองเกสร แมลงสาบ เชื้อรา ฯลฯ 2. สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นม ไข่ ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ฯลฯ
ปัจจัยเสี่ยง
พันธุกรรม
มลภาวะ
สูบบุหรี่
ขาดการออกกำลังกาย
สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปูพรม เครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและไรฝุ่น เป็นต้น
การวินิจฉัย
วินิฉัยกับอาการ ร่วมกับประวัติที่มีการแพ้สารก่อภูมิแพ้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากประวัติชัดเจนสามารถวินิจฉัยได้ และเริ่มการรักษาได้ หากประวัติไม่ชัดเจนหรือว่าทำการรักษาไปแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะมีการตรวจเฉพาะ คือการทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test) หรือเจาะเลือดตรวจจากเม็ดเลือด เพื่อตรวจสอบว่าแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ชนิดไหนบ้าง เพื่อจะนำตัวน้ำเหลืองไปตรวจ จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหยุดยาแก้แพ้มาก่อนได้ เนื่องจากการทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด จะต้องหยุดยาแก้แพ้ชนิดรับประทานมาก่อน 7 วัน
วิธีการรักษา
-หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
-การใช้ยา
-วัคซีนภูมิแพ้ (ภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารก่อภูมิแพ้)
การใช้ยา
-ยาพ่นจมูก
-ยาแก้แพ้-อื่นๆ เช่น การล้างจมูก
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
การหลีกเลี่ยง การกำจัดและควบคุมสารก่อภูมิแพ้ และสารละคายเคือง
-ลดการสัมผัสกับไรฝุ่น ทำความสะอาดบ้าน เครื่องนอน
-ลดการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง งดเลี้ยงหรืออยู่ใกล้สัตว์เลี้ยง
-ลดการสัมผัสกับซากแมลงสาบ ทำความสะอาดบ้าน
-ลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากเกสรหญ้า และเชื้อรา-ใช้เครื่องกรองอากาศ high efficiency particulate air filters
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับควันบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ควัน รถยนต์ และควันไฟกับการใช้เตาถ่าน ก๊าซ หรือสารก่อระคายเคืองในบ้านอื่นๆ
การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ (ภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารก่อภูมิแพ้)
-แบบฉีด
-แบบหยอดหรืออมใต้ลิ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาให้ผู้ป่วยมีอาการลดลง
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา
-โรคหืด
-ไซนัสอักเสบ,ริดสีดวงจมูก
-หูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวก)
-ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ
-ภาวะทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ
การป้องกันโรคภูมิแพ้
ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
-ให้มารดากินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ อย่างสมดุล ไม่จำเป็นต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี อาหารทะเล เป็นต้น
-กินนมแม่นาน อย่างน้อย 4-6 เดือน
-ทารกกลุ่มเสี่ยงที่นมแม่ไม่เพียงพอในช่วงอายุ 4-6 เดือน การให้นมที่ผ่านการย่อยโปรตีนแล้วบางส่วน แทนนมวัวสูตรปกติ เพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้
-มารดาควรงดสูบบุหรี่ ไม่สัมผัสควันบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
-ควรทาสารให้ความชุ่มชื้นต่อผิวเด็ก เพื่อลดโอกาสเป็นผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
หลักเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
ออกกำลังกาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: อ.พญ.ธันยธร ธีรนรเศรษฐ์ อาจารย์ประจำหน่วยโรคจมูก ภูมิแพ้ ไซนัส
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช.
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่