อาจารย์นักวิจัย มช. ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568

3 ธันวาคม 2567

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

อาจารย์นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดังนี้
.
รางวัลผลงานวิจัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยกานต์ เลียวหิรัญ และคณะ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์) ผลงานเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์บนฐานของโครงสร้างนาโนโลหะออกไซด์แบบทวิภาคเชิงซ้อนเสริมฟังก์ชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกสังเคราะห์ด้วยเปลวไฟสำหรับการตรวจวัดแก๊สจำเพาะในโรคของระบบทางเดินอาหาร”
  • รองศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล และนายภาสกร ญี่นาง สังกัดคณะนิติศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขานิติศาสตร์) ผลงานเรื่อง “วิสามัญมรณะ : ปฏิบัติการของระบบกฎหมายและการต่อสู้ของผู้ตกเป็นเหยื่อ”
  • ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี และดร.ณีรนุช แมลงภู่ คณะสังคมศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขาสังคมวิทยา) ผลงานเรื่อง “เมื่อความเร็วถดถอย : เมือง การเคลื่อนย้ายและภาวะเวลา ในห้วงระบาดของโควิด-19”
  • ศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และคณะ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขาสังคมวิทยา) ผลงานเรื่อง “ข้ามวิกฤตโควิด 19 การวิเคราะห์ทางสังคม เพื่อรับมือโรคระบาดในอนาคต”
  • รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล วุฒิการณ์ และคณะ สังกัดวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์) ผลงานเรื่อง “การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการตรวจนับสินค้าคงคลังโดยการบูรณาการอากาศยานไร้คนขับ เทคโนโลยีบาร์โค้ด การเรียนรู้เชิงลึก และเทคโนโลยีการประมวลผลภาพ”
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ไกรวุฒิ ใจคำปัน สังกัดคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นักวิจัยร่วม) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี ผลงานเรื่อง "โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (Enhancing Capabilities of Local Revenue Administration in Thailand"
.
รางวัลวิทยานิพนธ์
  • ดร.ธวัชชัย ขวัญจริง สังกัดสำนักงานบริหารงานวิจัย ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ผลงานเรื่อง “ผลของยาโดนีพีซิลและการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสต่อการทำงานของหัวใจและไมโทคอนเดรียขณะเกิดภาวะขาดเลือดแล้วมีเลือดกลับมาหล่อเลี้ยงใหม่และภาวะที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษต่อหัวใจด้วยยาเคมีบำบัดในหนูขาว” โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร
  • ดร.กวิพร จินะจันตา สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) ผลงานเรื่อง “การจำแนกลักษณะไมโครไบโอมของไรโซเเบคทีเรีย ภายใต้การปฏิบัติการเกษตรที่ต่างกันของทุ่งกุลาร้องให้ และความสามารถของเชื้อในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ทนเค็ม และสารประกอบ อะโรมาติกของข้าวหอมมะลิ 105” โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลักคือ รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง
.
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ ด้วงมะโน และคณะ สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์เลือดเทียมสำหรับควบคุมคุณภาพการตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง”
  • ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ธีรอำพน และคณะ สังกัดสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ผลงานเรื่อง “CMU-Done พอดี อุปกรณ์ดันปลายจมูก เฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่”
  • ดร.เสวต อินทรศิริ และคณะ สังกัดสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ผลงานเรื่อง “การเพิ่มมูลค่าพลอยธรรมชาติทัวร์มาลีน และเบริลด้วยเทคโนโลยีพลาสมาอบอ่อนเพื่ออุตสาหกรรม SME”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกฤต สุจริตกุล สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ (นักวิจัยร่วม) ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี ผลงานเรื่อง "สื่อการเรียนรู้พื้นฐานนาฏศิลปไทยสำหรับผู้พิการทางสายตา" โดยมี ดร.ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ
ข้อมูลโดย : สำนักงานบริหารงานวิจัย
แกลลอรี่