CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
17 พฤษภาคม วันความดันโลหิตสูงโลก
17 พฤษภาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันความดันโลหิตสูงโลก” (World Hypertension Day) เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบได้มากที่สุด และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย หากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่ออวัยวะต่างๆ หลายระบบในร่างกาย ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้อย่างต่อเนื่อง มักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะที่สำคัญเช่น หัวใจ หลอดเลือด ตา ไต สมอง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายอย่างยิ่ง
ปัจจุบันสำหรับประเทศไทยกำหนดค่าความดันโลหิตปกติ ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี คือค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 120 และตัวล่างไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร
มากกว่าร้อยละ 90 ไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจเกิดได้หลายปัจจัย เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะนํ้าหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน ความเครียดสะสม สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การรับประทานอาหารเค็มจัด รวมถึงพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ใช้พลังงานในการทำกิจกรรมน้อย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้
ความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ บริเวณท้ายทอย ตามัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เลือดกำเดาไหล เป็นต้น
การปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการลดความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยไม่ต้องพึ่งยา
1. การลดน้ำหนัก
2. ออกกำลังกาย (ให้เหมาะสมตามช่วงอายุรายบุคคล)
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสชาติเค็ม เค็มจัด
5. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
6. เลิกสูบบุหรี่
7. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (สำหรับรายบุคคลที่ไวต่อคาเฟอีน *ข้อมูลอยู่ในระหว่างศึกษายังไม่ได้รับข้อสรุป)
8. หมั่นดูแลตนเอง ชั่งน้ำหนัก ตรวจวัดค่าความดันอยู่บ่อยครั้ง
9. มีเครื่องวัดความดันสำหรับพกพาไว้ หมั่นเช็คตนเองและคนในครอบครัว
10.นั่งสมาธิ ฝึกจิตใจ อารมณ์ (ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมื่อนั่งสมาธิต่อเนื่อง ความดันโลหิตจะลดลง)
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ต้องคอยควบคุมอาการไปตลอด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และหมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ตรวจพบอาการได้เร็วขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้อีกด้วย
ข้อมูลโดย อาจารย์ แพทย์หญิงทรรศลักษณ์ ทองหงษ์ อาจารย์ประจำศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง : นส.ธัญญลักษณ์ สดสวย
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: