นอนกรน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

20 ธันวาคม 2567

คณะแพทยศาสตร์

อาการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
นอนกรนธรรมดา คือ เสียงกรนแบบราบเรียบ สม่ำเสมอ ไม่ขาดหาย การนอนหลับสนิท โดยอาจจะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เหนื่อยจากการออกกำลังกาย ทำงานหนัก เพลีย
ส่วนอาการนอนกรนที่ผิดปกติคือ เสียงกรนสะดุด ไม่ต่อเนื่อง มีอาการสำลัก รู้สึกอึดอัด สะดุ้งตื่น หรือมีหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย


สาเหตุ
– น้ำหนักเกินเกณฑ์
– คางเล็ก สั้น ลิ้นโต
– จมูกอักเสบภูมิแพ้ ต่อมทอนซิลโต
– สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
นอนกรนเสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง
– ความดันโลหิตสูง
– อัมพฤกษ์ อัมพาต
– หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
– หัวใจวาย


แนวทางในการรักษา
– การลดน้ำหนัก
– จัดสภาพแวดล้อมในการนอนให้เหมาะสม เช่น ไม่นอนในที่มีเสียงดัง ปรับแสงให้เหมาะแก่การนอน ไม่เล่นมือถือหรือดูจอก่อนนอน
– ตรวจบันทึกข้อมูลขณะหลับ
– ปรับท่านอน เช่น นอนหัวสูง นอนตะแคง
– แอพพลิเคชันจัดท่านอน Android :SPATA (ENT CMU), IOS : Somnopose
– การรักษาจมูกอักเสบภูมิแพ้
– การใส่อุปกรณ์ในช่องปาก
– การจี้ หรือการผ่าตัด ลิ้นไก่ เพดานอ่อน โคนลิ้น ต่อมทอนซิล
– ใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ รองหัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวสมัชญา หน่อหล้า
ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์

แกลลอรี่