โนโรไวรัส Norovirus

20 ธันวาคม 2567

คณะแพทยศาสตร์

เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอาหารเป็นพิษและการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร (gastroenteritis) ทั่วโลก ไวรัสนี้มักแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในชุมชน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานดูแลผู้สูงอายุ
ป้องกันได้โดยยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด”
“โนโรไวรัส” เป็นเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารสามารถอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยได้นานถึง 2 สัปดาห์แพร่ระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ไม่สามารถทำลายเชื้อได้ด้วยแอลกอฮอล์


อาการของโรค
* คลื่นไส้ อาเจียน
* ปวดท้อง ท้องเสีย
* อาจมีไข้ อ่อนเพลีย
* ปวดเมื่อย ตามตัว


การติดต่อ
– รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโนโรไวรัส
– จับหรือสัมผัสกับสิ่งของที่มีเชื้อโนโรไวรัส
– สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง


วิธีป้องกันโรค
– ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งก่อนหยิบจับอาหาร
– ล้างวัตถุดิบอาหารให้สะอาด
– รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและถูกสุขอนามัย
– ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน
– หลีกเลี่ยงน้ำดื่มหรือน้ำแข็งที่ไม่สะอาด
– ใช้น้ำยา 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรต์หรือน้ำยาซักผ้าขาว(เจือจาง 10 เท่า)ในการฆ่าเชื้อบนพื้นผิวสิ่งแวดล้อมหรือ สิ่งของ


ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโนโรไวรัสโดยเฉพาะ การรักษาจะเป็นการดูแลตามอาการ

หากมีอาการรุนแรง เช่น ขาดน้ำอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


ที่มา : ผศ.นพ.ปรเมษฐ์ วินิจจะกูล หน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#65thMedCMU #MedCMU #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แกลลอรี่