“นอนน้อยแต่นอนนะ… ไม่ได้! ต้องนอนให้พอ เดี๋ยวพัง! #วันนอนหลับโลก”??????????
14 มีนาคม วันนอนหลับโลก (World Sleep Day)
วันนอนหลับโลก (World Sleep Day) กำหนดขึ้นโดย สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine : WASM) ซึ่งตรงกับวันศุกร์ก่อนวันวสันตวิษุวัตของทุกปี โดยในปี 2568 ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม กิจกรรมนี้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับ ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับ
ปัญหาการนอนและแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง
การนอนหลับมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพในหลายด้าน ได้แก่ :
* เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
* เสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ สมองจะประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลในขณะนอนหลับ
* ควบคุมฮอร์โมนและการเผาผลาญ การนอนหลับที่เพียงพอช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
* ลดความเครียดและป้องกันภาวะซึมเศร้า การนอนหลับที่มีคุณภาพช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้อารมณ์ดีขึ้น
การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาการนอนหลับ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต เช่น :
* รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ และอารมณ์แปรปรวน
* เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุขณะขับขี่หรือทำงาน
* เพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอ้วน
* เด็กอาจขาดสมาธิในการเรียน วัยทำงานประสิทธิภาพลดลง และผู้สูงอายุเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม
วิธีปรับปรุงคุณภาพการนอน
* กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้สม่ำเสมอ เพื่อสร้างวัฏจักรการนอนที่ดี
* หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอน เนื่องจากสารเหล่านี้รบกวนการนอนหลับ
* ลดการใช้หน้าจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าจะรบกวนการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ
* สร้างบรรยากาศในห้องนอนที่เหมาะสม เช่น ปรับแสงให้สลัว อุณหภูมิที่สบาย และลดเสียงรบกวน
* ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดความเครียดและทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
* หากนอนไม่หลับภายใน 20-30 นาที ควรลุกจากเตียงและทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงเบา ๆ หรืออ่านหนังสือ
การรักษาปัญหาการนอนหลับ
หากพบว่ามีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม การใช้ยานอนหลับเป็นเพียงวิธีบรรเทาชั่วคราว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุ และอาจทำให้เกิดการพึ่งพายาได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.ธีรกร ธีรกิตติกุล หัวหน้าหน่วยโรคระบบการหายใจเวชบำบัดวิกฤต และภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์วิเคราะห์สุขภาพการนอนหลับ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#วันนอนหลับโลก #WorldSleepDay #MedCMU #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #โรงพยาบาลสวนดอก #โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ #แพทย์เชียงใหม่ #แพทย์มช #หมอสวนดอก #แพทย์สวนดอก #MedCMUในมือคุณ #สื่อสารองค์กรMedCMU