MED CMU Health Innovation Center

10 พฤศจิกายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมศูนย์ ร่วมกับ ศูนย์ MED CHIC คณะแพทย์ มช. จัด พิธีปิดโครงการ “กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้ โครงการ 5.1 – 1 การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร” งบประมาณปี พ.ศ. 2563


รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คุณจุลพงษ์ ทวีศรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการ “กิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ภายใต้โครงการ 5.1–1 การเพิ่ม ศักยภาพอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร” งบประมาณปี พ.ศ. 2563 และมอบวุฒิบัตรให้แก่สถานประกอบการที่ เข้าร่วมโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริม อุตสาหกรรมและศูนย์นวัตกรรมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (MedCHIC) เมื่อวันที่ 9 กันยายน  2563 ณ ห้องเชียงใหม่ 3 5 ชั้น 2 อาคารศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

รศ.ดร.พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสุขภาพ ค ณ ะ แ พ ท ย ศ า ส ต ร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ MED CMU Health Innovation Center (MedCHIC) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรม เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและ เอกชนกำลังเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพอันได้แก่ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการตรวจ วิเคราะห์ การบำบัดรักษา เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมดังกล่าว ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่หลายด้าน อาทิเช่น  ผู้ประกอบการไทยยังต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ตลอดจนการยอมรับของผู้ใช้ ผู้รับบริการ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรม  เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีศักยภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ สามารถตอบสนองความต้องการ ทดแทนการนำเข้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างยั่งยืน

ศูนย์ MED CHIC จึงได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในการสร้างและ/หรือการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมสู่การผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ (prototype) ที่มีมูลค่าสูง เพื่อสามารถขยาย ผลสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีรายชื่อผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1. รถเข็นวีลแชร์รุ่นมาตรฐาน
2. แอพพลิเคชั่น ระบบฝากครรภ์
3. เครื่องเปิด-ปิดหลอดUV ผ่านระบบ IoT
4. เตียงฝึกยืนปรับความสูงได้
5. เตียงออกกำลังกายเพื่อการรักษา (ขนาด 120*200 cm)
6. เตียงออกกำลังกายเพื่อการรักษา (ขนาด 70*200 cm)
7. รถเข็นจ่ายยาควบคุมด้วยระบบ Keyless acess
8. เครื่องนวดกระตุ้นน้ำนม
9. ล้อฝึกเดิน Wheel walker with forearm support
10. เบาะรองนั่งสสำหรับคนพิการแบบเติมลม Air cushion
11. นวัตกรรมเกมส์ฝึกการทรงตัว Game for balance trainer

ซึ่งผลิตภัณฑ์บางตัวได้อยู่ในระหว่างการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา คือ รถเข็นวีลแชร์รุ่นมาตรฐานแอพพลิเคชั่น ระบบฝากครรภ์ เครื่องนวดกระตุ้นน้ำนม และนวัตกรรมเกมส์ฝึกการทรงตัว Game for balancetrainer อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนนวัตกรรม คือ เครื่องเปิด-ปิดหลอด UV ผ่านระบบ IoT และรถเข็นวีลแชร์รุ่นมาตรฐาน
ข้อมูลโดย : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่