TEDxChiangMai 2021 Workshop Re-Together to Reduce PM2.5 for Sustainable Development Goals (SDGs)

1 ธันวาคม 2564

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมจัดนิทรรศการและจัดกิจกรรม Workshop ในงาน TEDxChiangMai


เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการและจัดกิจกรรม Workshop ภายใต้รูปแบบ SDGs หรือ “Sustainable Development” ใน งาน TEDxChiangMai “Re-Together (Re-Set, Re-Imagine และ Re-Align) รวมทั้งได้นำเสนอ โครงการ CMU Model โครงการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือแบบบูรณาการ ตลอดจนภายในงานดังกล่าว ได้รับความร่วมมือในหลายหน่วยงานจากศูนย์ภายใต้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นพันธมิตรรวมถึง ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง การใช้เทคโนโลยี ในการติดตาม เฝ้าระวัง เพื่อแก้ปัญหาและรับมือฝุ่นควัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา PM2.5 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

งาน TEDxChiangMai 2021 คืองานที่จุดประกาย ความคิดให้แก่ผู้คนในประเทศไทย ดำเนินงานอย่างอิสระและไม่หวังผลกำไร ในปี 2564 นี้ TEDxChiangMai ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 จึงได้จัดกิจกรรมดีๆ นำเสนองานในรูปแบบ Hybrid Event มีการพูดคุย เวิร์กช็อป และการแสดง รวมถึงกิจกรรมออนไลน์ โดยภายในงานการเสวนาจะมุ่งเน้นไปที่การอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว ตามธีม “Re-Together (Re-Set, Re-Imagine และ Re-Align)”

ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคม ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมานี้ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่ว่า เราควรเปลี่ยนเพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ที่ประกอบไปด้วย “Re” ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลง และ “Together” คือ พวกเราทุกคน หรือ ร่วมกัน แต่ก่อนที่เราจะเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่าและให้เราทุกคนพบกับความลงตัวในการอยู่ร่วมกัน หรือ Re-Together ได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนได้แก่
  • Reset หมายถึง เราควรหยุดเพื่อเริ่มต้นใหม่…
  • Re-imagine คือ เปลี่ยนมุมมอง ภาพความคิด หาวิธีใหม่….
  • Re-align คือ การปรับเปลี่ยน เพื่อสิ่งที่ดีกว่า…


โดยในปีนี้ได้นำ SDGs หรือ “Sustainable Development Goals” หรือมีชื่อภาษาไทยว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นแนวทางในการนำเสนอหัวข้อการเสวนา โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึง องค์รวมของทุกๆ ด้านอย่างสมดุลบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเอง และคุณภาพชีวิตที่อย่างเท่าเทียม ซึ่งมีเป้าหมายทั้งสิ้น 17 ข้อ ที่มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิดที่ว่า “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ผู้แทนจากคณะทำงานฯ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว เริ่มจากการที่มีผู้แทนจากคณะทำงานฯ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรหนึ่งในวิทยากรที่ได้รับเลือกให้เป็นวิทยากร 16 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา อาจารย์ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้พูดบนเวทีดังกล่าว ในหัวข้อ “สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะช่วยเราปกป้องโลกใบนี้ได้อย่างไร” และ “โลกใบนี้คือบ้านหลังใหญ่ของพวกเรา เราต้องสร้าง The Envirenger เพื่อรักษาโลกนี้ไว้ เราจะอยู่บนโลกนี้อย่างสมดุลและมีความสุขอย่างยั่งยืน”

      

ผศ.ดร. ว่าน วิริยา อาจารย์ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร. ว่าน วิริยา เชี่ยวชาญในเรื่องการตรวจสอบมลพิษทางอากาศ รวมถึงเรื่องฝุ่นละออง PAHs (Polycyclic aromatic hydrocarbons) จากการเผาไหม้ของสารชีวมวล การสะสมของกรดในบรรยากาศ หน้ากากสำหรับ PM2.5 และ COVID-19 ที่ได้รับการป้องกัน รวมทั้งมีส่วนช่วยเหลือในหลายๆกิจกรรมของชุมชน หนึ่งในผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นวิทยากร 16 ท่าน ของงาน TEDxChiangMai

การร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้


ทางคณะทำงานยังได้มีส่วนร่วมในการจัดนิทรรศการองค์ความรู้ ประกอบด้วย
1. โครงการ AQSEA Building Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia ระดับภูมิภาคที่ดำเนินงานร่วมกับ RTI International และ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในการพัฒนาการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยการใช้เครือข่ายเซ็นเซอร์ราคาไม่สูงในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศลาว ซึ่งทางกงสุลใหญ่ โดย คุณฌอน โอนีลล์ ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรม Workshop ภายในงาน

2. Fire D แอปพลิเคชันไฟดี (FireD) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัคมศาสตร์ และศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Regional Center for Climate and Environmental Studies,RCCES) ระบบทำข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจศูนย์บัญชาการบริหารจัดการเชื้อเพลิง เปิดให้ชุมชนลงทะเบียนขอกำจัดเชื้อเพลิง เพื่อให้หาความเหมาะสมในการกำจัดเชื้อเพลิงในแต่ละวัน แก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

3. DustBoy “การเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศด้วยเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 แบบเซนเซอร์ (DustBoy)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center: CCDC)

4.GIS AND AUV การจัดฐานความรู้ทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ แผนที่ การแปลภาพถ่ายทางอากาศ GIS & Remote Sensing และการยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์กับการพยากรณ์อากาศและปัญหาหมอกควัน PM2.5 โดย อ.ดร.พลภัทร เหมวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผศ.ดร.อริศรา เจริญปัญญาเนตร อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) Gistda ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.นวัตกรรมหน้ากาก MasquraX นวัตกรรมหน้ากาก positive pressure mask หรือ หน้ากากความดันบวก พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ดับไฟป่าโดยเฉพาะ และเพื่อแพทย์ให้สามารถนำไปใช้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา อาจารย์ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    

การจัดกิจกรรม Workshop

ทางคณะทำงานฯ ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม Workshop “TEDxChiangMai 2021 Workshop Retogether to Reduce PM2.5 for Sustainable Development Goals (SDGs)”
โดย วิทยากรกิจกรรม Workshop “โครงการต้นเเบบการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันอย่างยั่งยืน CMU Model ” โดย รองศาสตราจารย์ สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ซึ่งกิจกรรมภายในงาน มี 2 กิจกรรม คือ
1. Workshop ” Re-together to Reduce PM2.5? for Sustainable Development Goals (SDGs)” ร่วมกิจกรรมการถามตอบประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะการปล่อย PM2.5

2. “Making Rainbow Rice using Natural dye” กิจกรรม การทำข้าวสีรุ้งอัญมณีแห่งหุบเขา การย้อมข้าวพันธ์ท้องถิ่นจากสีธรรมชาติ การนำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากพื้นที่ศึกษานำร่อง มาพัฒนาเพื่อสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยลดการใช้ทรัพยากรจากป่า และลดการเผาชีวมวล ซึ่งได้แก่ ข้าวพันธ์พื้นเมือง ไข่ไก่ แยมหม่อนวิสาหกิจชุมชน บ้านป่าตึงงาม ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


    
    
    

โดย ได้รับการสนับสนุน การจัดบูธนิทรรศการ และนักศึกษาช่วยงาน จาก ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมจัดนิทรรศการด้วยในวันดังกล่าว


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://acair.cmu.ac.th/?p=6297

ข้อมูลโดย : คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข้อมูลโดย : คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://acair.cmu.ac.th/?p=6297
แกลลอรี่