CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
คณะแพทย์ มช. ห่วง โควิดคลัสเตอร์ใหม่ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตือนประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เตรียมความพร้อมเต็มกำลังรับมือผู้ป่วยโควิด-19 เร่งปูพรมฉีดวัคซีน
20 กันยายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ห่วงสถานการณ์โควิด-19 คลัสเตอร์ใหม่ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ชี้การระบาดส่วนใหญ่เกิดจากการรวมกลุ่มสังสรรค์ วอนให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดตามมาตรการของจังหวัดฯ ด้านผู้อำนวยการ รพ.มหาราชฯ เผยเตรียมความพร้อมเต็มกำลังรับมือผู้ป่วยโควิด-19 เร่งปูพรมฉีดวัคซีนฯ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดในระยะนี้
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระยะนี้ว่า แต่ละวันมีจำนวนไม่ถึง 10 ราย เนื่องจากทางโรงพยาบาลมหาราชฯ เป็นโรงพยาบาลที่รองรับเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยหนัก (กลุ่มสีเหลือง ส้ม แดง) จำนวนผู้ป่วยจึงไม่สูงมากเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลอื่นๆ ในจังหวัดที่รับกลุ่มผู้ป่วยไม่มีอาการ (กลุ่มสีเขียว) หรือกลุ่มผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง
อย่างไรก็ตาม คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้เตรียมความพร้อมด้านสถานที่ไว้รองรับผู้ป่วยฯ หลายจุดในกรณีที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของทางจังหวัด เช่นที่ศูนย์โรคปอด ใช้รองรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีการประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ในการรับผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเติมด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้พยายามบริหารจัดการทุกด้านให้มีประสิทธิภาพสุงสุด โดยเฉพาะการจัดการด้านอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง
ล่าสุดในขณะนี้ (วันที่ 17 ก.ย.64) มีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมหาราชฯ จำนวน 8 ราย และในโรงพยาบาลประสาท 2 ราย ทั้งหมดนี้เป็นผู้ป่วยอาการหนัก ซึ่งเรามีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยหนักมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรจำนวนมากในการดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ มช. กับโรงพยาบาลมหาราชฯ ได้ประสานความร่วมมือการทำงานร่วมกับทางสาธารณสุขจังหวัดฯ อย่างไร้ขอบเขต ทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้าน ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ภาพรวมการทำงานในการรับมือกับโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ จะมีระบบบัญชาการที่ขึ้นกับศูนย์กลางรับผิดชอบ มีการจัดการจัดสรรทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด จังหวัดได้ตั้งศูนย์การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน หรือ EOC ขึ้นมา โดยสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้มองภาพรวม และบูรณาการทำงานร่วมกับบุคลากรที่อยู่นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีมีผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อแล้วอาการไม่หนัก เบื้องต้นจะส่งรักษาตัวในพื้นที่ของโรงพยาบาลสนามก่อน ซึ่งที่นั่นจะมีความพร้อมมาก มีความสะดวกสบายเป็นห้องขนาดใหญ่ มีทีมบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง อาการวิกฤต มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาในระดับที่สูงขึ้น ก็จะย้ายผู้ป่วยส่งไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ทันทีโดยที่ไม่มีวางขอบเขตว่าจะต้องเป็นโรงพยาบาลสาธารณสุขเท่านั้น
ในส่วนของแผนการจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของจังหวัดเชียงใหม่ ผศ.นพ.นเรนทร์ กล่าวว่า “อยากขอความร่วมมือประชาชนให้ความสนใจเข้ารับการฉีดวัคซีนมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีจำนวนค่อนข้างน้อย สำหรับแผนการฉีดวัคซีนที่วางไว้ขณะนี้ มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเปราะบาง 607 คือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ที่ผ่านมาพบสถิติกลุ่ม 607 ในจังหวัดเชียงใหม่ มาเข้ารับการฉีดวัคซีนเพียงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเท่านั้น เท่ากับว่ามีอีก 60 เปอร์เซ็นต์ที่หายไป หากจะเปิดให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ กลุ่มบุคคลเหล่านี้ต้องปลอดภัย เนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบาง หากติดเชื้อแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้ ให้บริการฉีดไป 117 ราย ทุกรายปลอดภัยดี อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มีนโยบายเร่งฉีดวัคซีนให้กับเด็กนักเรียนอายุ 12-18 ปีในเร็วๆ นี้ด้วย ดังนั้นวัคซีนในกลุ่มของเด็ก คงต้องติดตามนโยบายทางจังหวัดเป็นระยะ หากมีการเปิดให้ฉีดทางรพ.มหาราชฯ และสนามฉีดวัคซีนฯ ก็พร้อมให้บริการ
อนึ่ง เนื่องด้วย 24 กันยายน 2564 นี้เป็นวันมหิดล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ ทางสนามฉีดวัคซีน หอประชุม มช. มีกำหนดเปิดเป็นกรณีพิเศษ เพื่อระดมฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ ให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบาง รวมถึงคิวที่จองฉีดผ่าน "ก๋ำแปงเวียง" เอาไว้ รวมถึงอาจเปิดโอกาสให้กลุ่มวอล์คอินทั่วไปด้วย โดยทั่วประเทศมีแผนจะฉีดให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านโดส สำหรับข้อสรุปในเรื่องนี้ขอให้ติดตามข่าวสารยืนยันจากทางคณะแพทยศาสตร์ มช. ซึ่งจะประกาศให้ทราบอย่างเร่งด่วนอีกครั้งหนึ่ง ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าว
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีแผนเตรียมการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้ว่า การจะเปิดประเทศรับฤดูการท่องเที่ยวไฮซีซั่น ได้หรือไม่ขึ้นอยู่ที่การปฎิบัติตัวของประชาชน ต้องมีความสมดุลระหว่างจำนวนผู้ติดเชื้อ และเศรษฐกิจ เมื่อมีการเปิดเมืองหรือเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวย่อมจะมีโอกาสทำให้เชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ประชาชนต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สิ่งที่ควรปฎิบัติเป็นพื้นฐานก็คงจะหนีไม่พ้นวิถีนิวนอมอล ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง งดรวมกลุ่มสังสรรค์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก”
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยและนวัตกรรม
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: