CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
สถานการณ์โควิดแบบนี้ กินอะไรดี
23 เมษายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
โควิด19 รอบนี้เกิดการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็ว หลายๆคนมีความกังวลว่าเราติดโควิดหรือยัง เราจะเป็นพาหะเอาไปติดใครไหม ฉีดวัคซีนไปแล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า เพื่อไม่ให้เราวิตกจนเกินไปเรามาสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ด้วยสารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน หลักๆ4 ชนิดกันค่ะ
วิตามิน C
ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจากภายใน ผักและผลไม้ที่มีวิตามิน C สูง ได้แก่ ฝรั่งสีชมพู ส้ม เอลเดอร์เบอร์รี่ สตอเบอรี่และผลไม้ตระกูลเบอรี่ ผักบล็อกเคอรี่ และพริกหวาน ผักผลไม้เหล่านี้จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆมากมาย
Zinc
แร่ธาตุช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่เรามีมาตั้งแต่กำเนิดให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ zincจะมีอยู่มากใน หอยนางรม ตับหมู ตับไก่ ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดธัญพืช
??Selenium
การได้รับวิตามินCและZincเพียงพอแต่Seleniumต่ำก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตกได้ seleniumจะช่วยเอนไซม์กลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส ช่วยลดสารออกซิแดนท์ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนให้มีประสิทธิภาพ ไทรอยด์ฮอร์โมนมีส่วนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย คนไหนที่ไทรอยด์ต่ำภูมิคุ้มกันก็จะตกได้ง่าย selenium พบมากในตับหมู ตับวัว กุ้ง ไข่ เมล็ดอัลม่อน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และ เห็ดหอม
วิตามินD
มีการศึกษาวิจัยในช่วงโควิด19 พบว่าคนไข้ติดเชื้อCOVID19 ที่นอนโรงพยาบาลและมีความรุนแรงของโรคค่อนข้างเยอะ เมื่อเจาะวิตามินในเลือดพบว่ามีวิตามินดีต่ำ ซึ่งวิตามินดีร่างกายผลิตเองได้จากการตากแดดอ่อนๆในตอนเช้า วิตามินดีเสริมมีสองรูปแบบคือ วิตามินดี2 และวิตามินดี3 โดยวิตามินดี2 จะเป็นวิตามินที่ยังไม่ออกฤทธิ์ทันทีต้องไปเปลี่ยนที่ตับและไตก่อนถึงจะออกฤทธิ์ได้ หากคนไหนที่การทำงานของตับไตไม่สมบูรณ์วิตามินดี2จะทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่วนวิตามินดี3 จะเข้าไปออกฤทธิ์ในร่างกายได้เลย หากใครอยากเสริมวิตามินดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะสามารถรับประทานแบบไหนจึงจะเหมาะสม
คำแนะนำ ไม่ควรทานถั่วเมล็ดแห้งมากเกินไปจะทำให้มีสารโอเมก้า6 เกินความจำเป็นของร่างกาย ก่อให้เกิดการอักเสบเกิดขึ้น
การรับประทานอาหารต้องหมุนเวียนอาหารไปเรื่อยๆ ห้ามรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ เช่น กินตับอย่างเดียวหรือกินเมล็ดธัญพืชอย่างเดียวก็ทำให้ไขมันขึ้นได้ ควรรับประทานอาหารหลากสี หลายชนิด หมุนเวียนกันไป จะทำให้แร่ธาตุบางอย่างไม่สะสมในร่างกายมากเกินไป ร่วมกับออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียดวิตกกังวล
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภายในเพื่อเป็นการป้องกัน ไม่เฉพาะโรคโควิด19เท่านั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สมบูรณ์ยังสามารถป้องกันได้อีกหลายโรคเลยค่ะ มาดูแลภูมิคุ้มกันด้วยตนเองกันดีกว่า
ข้อมูลโดย ผศ.พญ.นลินี ยิ่งชาญกุล อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#เราจะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน #MedCMU #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: