CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
การคุมกำเนิดในยุคโควิด-19
6 กรกฎาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
การคุมกําเนิดมีความสําคัญในการวางแผนครอบครัว ให้แต่ละครอบครัวมีบุตรเมื่อพร้อมและสามารถสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้กับสังคมได้ ซึ่งในช่วงที่มีโรคระบาดรุนแรง การคุมกำเนิดก็จะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติและมีข้อจำกัดในการดูแลของทั้งแม่และเด็ก ดังนั้นหญิงทั่วไปจึงพึงคุมกำเนิดในช่วงที่มีโรคระบาดรุนแรง ยกเว้นผู้หญิงที่มีข้อจำกัดในการคุมกำเนิด ก็ต้องระมัดระวังขณะตั้งครรภ์อย่างมาก หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
การคุมกําเนิดในประเทศไทยมีทั้งการคุมกําเนิดแบบธรรมชาติซึ่งมีประสิทธิภาพน้อย นอกจากนี้ยังมีถุงยางอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ฮอร์โมนเดี่ยว ยาฉีด ยาฝัง แผ่นแปะ ซึ่งในภาวะปกติ แต่ละครอบครัวก็จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม สำหรับการคุมกำเนิดระยะยาวได้แก่ ยาฉีดทุก 3 เดือน ยาฝังทุก 3-5 ปี และห่วงอนามัยทุก 5 ปี จะช่วยเว้นระยะการเดินทาง ในกรณีที่มีข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง
-ยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยสามารถใช้ในวัยรุ่นและผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตรได้และมีประสิทธิภาพดี โดยมีข้อเสียและผลข้างเคียงน้อย สปสช จึงสนับสนุนยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ในสถานพยาบาลของรัฐ เพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งหลังจากดำเนินโครงการมาเป็นระยะเวลา 7 ปีก็พบว่า มีกระแสตอบรับที่ดีและความพึงพอใจสูง
-ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศซีกโลกตะวันตก จะมีประชากรส่วนหนึ่งที่มีพันธุกรรมโน้มเอียงให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย เมื่อพบว่า 1 ใน 4 ของคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดลิ่มเลือดขึ้นในร่างกายจากภาวะที่มีปฏิกิริยาของเกล็ดเลือด และการอักเสบของผนังหลอดเลือด ประเทศเหล่านั้นจึงมีความกังวลเกี่ยวกับลิ่มเลือดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะยาที่จะมีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดในร่างกายเช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แต่ในคนเอเชียหรือคนไทย มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดน้อยมาก จึงสามารถรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัย และเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ก็มีแพทย์คอยดูแลเรื่องยารักษาขณะติดเชื้อ จึงทำให้ข้อกังวลนี้ค่อนข้างน้อย
-สำหรับการฉีดวัคซีนนั้นในแต่ละคนก็จะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป อาจจะมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อาการอ่อนเพลีย แต่ถ้าผู้หญิงรายนั้นมีอาการปวดประจำเดือนและอ่อนเพลียในช่วงที่มีรอบเดือน เมื่อไปรวมกับอาการอ่อนเพลียจากการได้รับวัคซีน อาจจะทำให้มีอาการมากขึ้น จึงอาจจะต้องรับประทานยาแก้ปวดในช่วงก่อนหรือหลังฉีดยา เพื่อลดอาการข้างเคียงเหล่านี้
-แม้จะมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแถบตะวันตกที่มีประชากรมีโอกาสเสี่ยงลิ่มเลือด ก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ของผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนกับยาเม็ดคุมกำเนิด และยังไม่มีประเทศใดออกข้อกำหนดให้งดการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก่อนการฉีดวัคซีน ดังนั้นในกลุ่มคนเอเชียหรือไทยที่โดยปกติพบลิ่มเลือดได้น้อยมาก จึงสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้โดยไม่ต้องหยุดยาเม็ดคุมกำเนิด
-โดยสรุป การคุมกําเนิดมีความสําคัญ ในการวางแผนการใช้ชีวิต และเรามีวิธีในการคุมกำเนิดที่หลากหลายในประเทศไทย ณ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานจากประเทศใดในโลกที่ห้ามคุมกำเนิดวิธีใดๆร่วมกับการฉีดวัคซีน จึงสามารถคุมกำเนิดและฉีดวัคซีนไปด้วยกันได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตร ควรทำการฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อลดความกังวลขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวลสงสัยเกี่ยวกับการคุมกำเนิด หรือยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด ก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ โดยแพทย์อาจเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดเป็นชนิดที่มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้น้อยที่สุด ได้แก่ชนิดที่มี ฮอร์โมนชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว ในรูปแบบยารับประทาน ยาฉีด หรือยาฝัง หรือจะเป็นการคุมกำเนิดแบบชนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน
ติดตามผ่าน Youtube : https://bit.ly/2V1HMEz
ข้อมูลโดย รศ.พญ.ทวิวัน พันธศรี
อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#COVID19
#การคุมกำเนิดในยุคโควิด-19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สื่อความรู้ (COVID-19)
สุขภาพ
ข่าวสาร (COVID-19)
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: