หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
ศูนย์ CIC CAMT ร่วมบรรยายผลการทดลองขนส่งสินค้าทางรางจากไทยสู่เยอรมนีผ่าน “รถไฟ-ลาว-จีน-ยุโรป” (CBEC to China & Europe)
8 กุมภาพันธ์ 2567
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดี และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเปิดผลการทดลองขนส่งสินค้าทางรางจากไทยสู่เยอรมณีผ่านเส้นทางรถไฟ “ลาว-จีน-ยุโรป” โดยมีนายเวทิต โชควัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสายงานอาเซียนและโลจิสติกส์ กล่าวเปิดงานสัมมนา ณ ห้องประชุม PASSION 802 ชั้น 8 ส.อ.ท.
การทดลองการขนส่งสินค้าทางรางครั้งนี้ เป็นโครงการทดลองร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน สายงานอาเซียนและโลจิสติกส์ของ ส.อ.ท. ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) บริษัทเอสซีจีเจดับบลิวดี โลจิสติกส์ และศูนย์ China Intelligence Center วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ส.อ.ท. เป็นสื่อกลางในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการขนส่งทางราง
การสัมมนาในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 140 ท่าน อ.ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ เป็นวิทยากรบรรยายและเปิดเผยผลการทดลองการขนส่งสินค้าผ่านรถไฟลาว-จีน-ยุโรป ที่มีระยะทางขนส่งสินค้าจากไทยไปยุโรป ทั้งสิ้น 13,911 กิโลเมตร (รถไฟ 13,111 กิโลเมตร) ใช้ระยะเวลา 29 วัน ทดลองขนส่ง “มาม่า”จำนวนหนึ่งตู้คอนเทนเนอร์จากโรงงานผลิต “มาม่า" ของบริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ที่ศรีราชา ไปขึ้นรถไฟจีนที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ ประเทศลาวสู่นครเฉิงตูเพื่อขึ้นรถไฟจีน-ยุโรปสู่ปลายทางเมืองท่าฮัมบรูกส์ประเทศเยอรมนี เป็นการขนส่งผ่านระบบรางแบบไร้รอยต่อผ่านรถไฟลาว-จีน ต่อด้วยรถไฟจีน-ยุโรปสู่ EU เป็นครั้งแรกสำหรับสินค้าไทย โดยมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งรวม 9,850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเลือกสำหรับประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ “วิกฤตทะเลแดง” ที่ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าจากไทย-ยุโรปทางเรือสูงเกินกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
และเพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่าง CIC CAMT กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานอาเซียนและโลจิสติกส์ทั้งสองฝ่ายจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือการพัฒนากำลังคน CBEC และการวิจัยโลจิสติกส์ข้ามแดนระหว่างกันในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ต่อไป
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: