CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
คณะพยาบาลศาสตร์ มช. อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย จัดกิจกรรมตัดตุงปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2564
9 เมษายน 2564
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ (ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง) จัดกิจกรรมตัดตุงปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2564 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล คณบดี เป็นประธาน วิทยากรรับเชิญ ได้แก่ คุณเฉลิมศรี โตน้อย บุคลากรอาวุโสของคณะฯ (อดีตหัวหน้าหน่วยสารบรรณและประชาสัมพันธ์) ซึ่งได้รับความสนใจจากคณาจารย์และบุคลากรร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564
"ตุง" หรือ "จ้อ" เป็นภาษาถิ่นทางภาคเหนือที่ชาวล้านนาเรียกขานกันทั่วไป หมายถึง ธง ในภาษาภาคกลาง มีลักษณะตรงกับภาษาบาลีว่า ปฎากะ หรือ ธงปฎาก "ธงตะขาบ" ซึ่งเมื่อครั้งสมัยหริภุญชัยในช่วงศตวรรษที่17 พบว่าชาวหริภุญชัย เคยมีโรคอหิวาตกโรคระบาด ผู้คนต่างพากันหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิง เมื่ออหิวาตกโรคหายไปก็พากันกลับมาบ้านเมืองเดิม คาดว่าคงได้มีการรับวัฒนธรรมการถวายธงหรือตุงที่มีเสาหงส์มาจากชาวมอญมาด้วย พบว่าหงส์ล้านนานี้เป็นสิ่งสำคัญมากของชาวรามัญนั้น ได้ปรากฏว่าเป็นส่วนประกอบอยู่กับตุงในล้านนาคือ "ตุงกระด้าง" มีลักษณะรูปทรงเหมือนกัน และมีลักษณะของธงตะขาบของชาวรามัญก็คล้ายคลึงกับ "ตุงไชย" ของล้านนาด้วยเช่นกัน "ตุง" ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ไม้ โลหะ กระดาษ ผ้า ใบลาน พลาสติก เป็นต้น มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสา หรือผูกติดกับปลายไม้ เป็นแผ่นยาวลงมา "ตุง" มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีรูปแบบ ขนาด และรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อ และพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนความนิยมของท้องถิ่นและการใช้งาน สำหรับตุงไส้หมู มีลักษณะเป็นพวงประดิษฐ์ รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ ทำจากกระดาษสีหรือกระดาษแก้วสีต่างๆ อย่างน้อยแผ่นละสี มาวางซ้อนกันแล้วพับทแยงมุมหลาย ๆ ทบ ใช้กรรไกรตัดสลับกันเป็นลายฟันปลาจนถึงส่วนปลายสุด เมื่อคลี่ออกและจับหงายขึ้น จะเห็นเป็นพวงกระดาษที่สวยงาม ศิลปะการตัดกระดาษให้เป็น ตุงไส้หมู เป็นองค์ความรู้ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งชาวล้านนาจะใช้ในพิธีทางศาสนาหรือกิจกรรมทางประเพณีของชาวล้านนา โดยเฉพาะชนกลุ่มไท ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่ เป็นต้น นั่นคือ ประเพณีปี๋ใหม่ (สงกรานต์) ในพิธีกรรม หรือประเพณีดังกล่าว ชาวล้านนาจะจัดเตรียมข้าวของต่างๆ สำหรับใช้ในพิธีใน "วันแต่งดา" คือวันสุกดิบ หรือวันเตรียมข้าวของ ซึ่งจะจัดทำก่อนหน้างานประมาณ 1 วัน
การตัดตุงไส้หมู
วัสดุและอุปกรณ์ ประกอบด้วย กระดาษว่าวสี 2 สี และ กรรไกร
ขั้นตอนและวิธีการทํา
เลือกกระดาษมาสองสีสีอะไรก็ได้แล้วแต่ชอบนํากระดาษทั้งสองแผ่นมาวางทับกันพับกระดาษให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยตัดส่วนที่เหลือออก พับครึ่งให้เป็นรูปสามเหลี่ยม พับครึ่งด้านที่หนึ่ง และ พับครึ่งด้านที่สอง เพื่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมจะได้กระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม พับกระดาษอีกด้านให้เป็นรูปเหมือนจรวด ตัดขอบด้านทะแยงให้เป็นรูปหยักหรือลวดลายตามแต่ถนัด หลังจากนั้นตัดขอบอีกด้าน ตัดส่วนสามเหลี่ยมด้านบนโดยตัดสลับคลี่กระดาษที่พับออกมา ให้เป็นลักษณะสี่เหลี่ยม ตัดกระดาษแผ่นเล็กและสอยด้ายเพื่อนําไปผูกมัดกับกิ่งไม้จะได้เป็นตุงไส้หมู
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: