CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
การให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำแบบให้ที่บ้าน (Home parenteral nutrition, HPN)
10 พฤษภาคม 2565
คณะแพทยศาสตร์
ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร จากสาเหตุต่าง ๆ อาทิ ลำไส้สั้น ลำไส้อุดตันเรื้อรัง การดูดซึมของลำไส้ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถได้รับอาหารผ่านทางเดินอาหารปกติไม่เพียงพอ ทำให้ได้รับสารอาหารที่ได้น้อยกว่าร้อยละ 50 – 60 ของความต้องการปกติ นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการซึ่งส่งผลเสียต่อการรักษา คุณภาพชีวิต และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวที่มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมซึ่งมีจำเป็นต้องใช้การให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ อย่างไรก็ตาม ในอดีตการให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำยังมีข้อจำกัดที่ต้องให้ในโรงพยาบาล แต่ในปี พ.ศ.2564 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งการให้บริการให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำแบบให้ที่บ้าน โดยทางทีมการให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำจะมีเครื่องหยดอาหารต่อเนื่องสำหรับให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยเพื่อนำไปใช้ที่บ้าน และเป็นที่ปรึกษาแก่ญาติที่มีความประสงค์ในการให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำที่บ้าน โดยจะมีการสื่อสารกับทีมทั้งจากพูดคุยผ่านแชท หลายช่องทาง ผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ รวมถึงการนัดติดตามเป็นระยะที่คลินิกโภชนศาสตร์ คลินิกที่โอพีดี 101
ผู้ป่วยที่จะได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่บ้าน มีเกณฑ์ดังนี้
1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้ทำงานผิดปกติเรื้อรัง
2. กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้ทำงานผิดปกติเรื้อรัง สาเหตุที่เกิดขึ้นจากมะเร็งหรือมะเร็งที่มีระยะลุกลาม
3. กลุ่มอื่น อาทิ ผู้ป่วยบางกลุ่มที่แพทย์ต้องการที่จะให้พักลำไส้ในระยะเวลาที่ยาวนาน อย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป
4. ผู้ป่วยทีมีภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายบริโภคอาหารและได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมทั้งปริมาณและความครบถ้วนของอาหาร ไม่ว่าจากการประเมินด้วยวิธีการต่างๆ แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของการรักษาในเรื่องของการให้อาหารผ่านทางเดินอาหารปกติ และแพทย์มีการวางแผนว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการรักษาต่อไปในอนาคต เช่น อาจจะมีการผ่าตัด ให้ยา ฉายแสง เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของโครงการให้อาหารทางหลอดเลือดดำที่บ้าน
1. จำหน่ายผู้ป่วยให้รักษาที่บ้าน
2. ลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล
3. เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องนอนในโรงพยาบาลในระยะเวลานาน และลดการติดเชื้อในโรงพยาบาล
4. เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
5. ผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องผ่าตัดและให้ยา ให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษาโรคต่อไปได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมโครงการได้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และพยาบาล เมื่อผู้ป่วยกลับไปที่บ้านแล้วสามารถที่จะดูแลตนเองได้และพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ที่มา:สุขภาพดีกับหมอสวนดอก ตอน...การให้อาหารผ่านหลอดเลือดดำแบบให้ที่บ้าน (Home parenteral nutrition, HPN)
https://www.youtube.com/watch?v=WWjm0cB5ixk
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ศ.ดร.นพ.กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: