สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Services Center

ศูนย์กลางแห่งการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล

เข้าสู่เว็บไซต์

Anti-Virus

บริการซอฟต์แวร์ Anti-Virus เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถใช้ซอฟต์แวร์ Anti-Virus ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ดังกล่าวและสามารถปรับปรุงรุ่นซอฟต์แวร์ใหม่ผ่าน Security patch หรือ Hot fix ให้มีความทันสมัย เพื่อที่จะป้องกันภัยคุกคามในปัจจุบันนี้ การใช้เพียงแค่ แอนตี้ไวรัส ไม่เพียงพอแล้วอย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องปรับใช้โซลูชั่น Endpoint Security ที่ครอบคลุมวงจรชีวิตการรักษาความปลอดภัยแบบเต็มรูปแบบจริง ๆ สามารถป้องกัน, ตรวจสอบวิเคราะห์, และตอบสนองทั้ง “การจำกัด” และ “การกำจัด” ภัยคุกคามในระบบองค์กรได้ สร้างความรวดเร็วในการตอบสนองภัยคุกคาม ที่พร้อมบุกเข้าระบบได้ทุกเวลาและลดความเสี่ยงต่อปัญหา การโจมตี บุกรุกทางระบบ เครือข่าย เมื่อมีการแพร่กระจายของไวรัส เวิร์ม โทรจัน สปายแวร์ และหรือ ไวรัสเข้ารหัสไฟล์ 

Mail Group

ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย สามารถส่งอีเมลไปยังผู้ใช้งานภายในมหาวิทยาลัยแบบกลุ่มได้ เพื่อการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ โดยส่งอีเมลไปยังที่อยู่อีเมลของกลุ่มนั้น ๆ ผู้ส่งจะต้องจะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนงานให้เป็นผู้ส่งอีเมลไปยังกลุ่มนั้น ๆ

- บุคลากรแต่ละส่วนงาน
- นักศึกษาแต่ละคณะ (ป.ตรี)
- นักศึกษาแต่ละคณะ (บัณฑิต ป.โท ป.เอก)
- นักศึกษาเก่า แต่ละคณะ
- อื่นๆ (ทำหนังสือมาขอที่ ITSC)

CMU MIS API

เป็นระบบให้บริการข้อมูลจากส่วนกลางจากฐานข้อมูล CMU MIS ในรูปแบบ Web services API โดยที่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย สามารถเรียกใช้บริการข้อมูลจากส่วนกลาง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับระบบฯ ต่าง ๆ ของหน่วยงานได้ เพื่อลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลส่วนกลางของมหาวิทยาลัยและของหน่วยงาน ตามนโยบายการจัดทำฐานข้อมูลกลาง (Single Database) ในระยะแรกจะเป็นการให้บริการข้อมูล 3 ด้านได้แก่ ด้านนักศึกษา ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตร ในขอบเขตเบื้องต้นของข้อมูล โดยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของแต่ละด้านที่ยังไม่เจาะลึกลงในรายละเอียดส่วนที่เป็นความลับของข้อมูลแต่ละด้าน 

Computer Lab @ITSC (50 pc)

Computer Lab @ITSC (50 pc) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 50 เครื่อง พร้อมระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรเจคเตอร์ (Projector) เครื่องเสียงสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ และ เอกชน เพื่อใช้ในการจัดฝึกอบรม 

e-Meeting

ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) เป็นระบบการประชุมที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการการประชุมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเอกสารวาระการประชุมต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ช่วยอำนวยความสะดวกในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถดูวาระการประชุมล่วงหน้าได้โดยผ่านระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลาไม่จำกัดสถานที่ ระบบช่วยลดการใช้ทรัพยากรภายในสำนักงาน ลดการใช้กระดาษ และช่วยให้การจัดประชุมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

Office 365

ระบบที่รวมรวมบริการต่าง ๆ ที่สนับสนุนการติดต่อสื่อสารภายในรั้วมหาวิทยาลัย โดยรวบรวมบริการไว้ในที่เดียว เพื่อความสะดวกสบายในการเลือกใช้งานโดยให้บริการฟรีสำหรับนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกท่าน โดยทำการ Login เข้าระบบด้วย CMU Account (@cmu.ac.th) 

IT Training

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวข้อต่าง ๆ ให้แก่ นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิ Office 365 , Photoshop , Illustrator และหัวข้ออื่นตามความต้องการของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดต่อสอบถามได้ที่ 053-943827 

CMU MIS

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปีงบประมาณ 2549 กระทั่งปัจจุบัน เข้าสู่ระยะที่ 12 ประกอบด้วย 12 ระบบงานหลัก และ 34 ระบบงานย่อยสำหรับบริหารจัดการข้อมูลที่ใช้ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านบุงานคลากร (CMU HR) ด้านการประเมินภาระงาน ด้านงานหลักสูตรและกระบวนวิชา (CMU TQF) ด้านงานวิจัย (CMU Research) ด้านผลงานทางวิชาการ (CMU Publication) ด้านงานอาคารสถานที่ (CMU Building) ด้านงานกิจการนักศึกษาและการพัฒนานักศึกษา (CMU SD) ด้านแผนและงบประมาณ (CMU e-Planning) ด้านแผนพัฒนาการศึกษาและคำรับรองการปฏิบัติงาน (CMU PA) ด้านงานวิเทศสัมพันธ์ ด้านงานยานพาหนะ (CMU Vehicle) ด้านรายได้จากทรัพย์สินส่วนกลาง ด้านสาธารณูปโภค ด้านทุนเพื่อไปเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ ณ ต่างประเทศ เป็นต้น รองรับการใช้งานของบุคลากรกว่า 11,500 คนและ นักศึกษากว่า 34,000 คน ในแต่ละปีเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนประกอบการตัดสินใจทั้งในระดับส่วนงาน และระดับมหาวิทยาลัย 

ITSC Corner

ศูนย์ให้บริการคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เปิดให้ใช้บริการคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม และมุมอ่านหนังสือ
เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-24.00 น.
วันเสาร์อาทิตย์ 08.00-18.00 น.
โทร. 053-941777 

OneDrive

OneDrive ด้วยการเข้าถึงที่ปลอดภัย การแชร์และที่จัดเก็บไฟล์ ที่ทำงาน ที่บ้าน หรือขณะเดินทาง ทำงานได้เร็วขึ้น หรือแม้แต่การแชร์ไฟล์ต่าง ๆ กับเพื่อน ก็สามารถทำได้แบบเรียลไทม์ บนเดสก์ท็อป เช่น Word, PowerPoint และอื่น ๆ ทำให้ประหยัดเวลาและสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมการควบคุมความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยม โดย Log in เข้าใช้ง่ายแอพลิเคชั่น o365 ด้วย CMU IT Account  

Data Center

ศูนย์ข้อมูลและบริการข้อมูลของมหาวิทยาลัย (Data Center) เพื่อให้บริการแก่ส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีมาตรฐานมีเสถียรภาพน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 053-943827 

CMU Heart

Co-working Space สำหรับนักศึกษา ที่รองรับทุกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นมุมอ่านหนังสือ โต๊ะประชุม มุมพักผ่อน และพื้นที่ให้นั่งทำงานแบบส่วนตัว ด้วยบรรยากาศที่โปร่งสบาย ผนังกระจกที่มองไปจะเห็นความเขียวร่มรื่น การตกแต่งที่นี่ก็เน้นไปที่ความเรียบง่ายสบายๆ การได้ทำงานในพื้นที่เหล่านี้ นอกจากเป็นการเติมไฟให้ตัวเอง หาแรงบันดาลใจใหม่ๆในสถานที่ใหม่ๆแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เราได้เจอและทำความรู้จักเพื่อนใหม่ๆ
 

CMU Channel

ให้บริการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา สาระความรู้และข้อมูลข่าวสารภายในมหาวิทยาลัย ผ่านเว็บไซต์ cmu channel 

e-Document

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) เป็นระบบที่ถูกนำมาใช้งานทางด้านงานสารบรรณโดยจะเป็นระบบที่ใช้สำหรับรับส่งหนังสือราชการ รองรับการรับ-ส่งหนังสือทุกประเภท ประเภทหนังสือที่ระบบรองรับ ได้แก่ หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำ ขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ(หนังสือหลักฐาน)


สำหรับเจ้าหน้าที่งานสารบรรณ


• การส่งหนังสือภายในส่วนงานและระหว่างส่วนงาน
• การรับหนังสือจากภายในส่วนงานและระหว่างส่วนงาน
• การตีกลับดึงกลับหนังสือ
• การแจ้งเวียนหนังสือภายในส่วนงาน
• การจัดเก็บหนังสือเข้าแฟ้ม
• การค้นหาหนังสือจากรายละเอียดของหนังสือและจากส่วนงานผู้รับ-ส่ง
• การออกรายงานทะเบียนคุมหนังสือ (ทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ)
• การแจ้งเตือนหนังสือเข้าทางอีเมล @cmu.ac.th

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มีคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้


• เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• เชื่อมโยงกับ IT Account ของมหาวิทยาลัย
• ตอบกลับหนังสือโดยสามารถสำ เนาถึงบุคคลที่สามได้
• แนบไฟล์ได้สูงสุด 10 ไฟล์ๆละ 4 MB รวมสูงสุด 40 MB
• แนบไฟล์ได้หลายประเภท อาทิ เช่น PDF , MS Word , MS Excel , JPEG
• แจ้งเตือนการรับหนังสือพร้อมข้อความโต้ตอบ-สั่งการได้ทางอีเมลมหาวิทยาลัย @cmu.ac.th

Jumbo Net

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ให้บริการเครือข่ายไร้สายแก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีจุดบริการกว่า 2,700 จุด ทั่วมหาวิทยาลัย โดยจะแบ่งออกเป็น 2 SSID ตามคลื่นความถี่ คือ @JumboPlus และ @JumboPlus5GHz โดยผู้ที่มีบัญชีไอทีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Account) สามารถใช้ บริการเครือข่ายไร้สายผ่านอุปกรณ์การเชื่อมต่อการใช้งานที่หลากหลาย โดยลงทะเบียนใช้งานเพียงครั้งแรกครั้งเดียว หลังจากนั้นอุปกรณ์จะจดจำ เพื่อใช้งานสูงสุดได้ 5 อุปกรณ์ https://jumbo.cmu.ac.th/ 

One Stop Service

One Stop Service ให้คำแนะนำในการใช้งานบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่รวมทั้งการบริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Notebook, Tablet เข้ากับเครือข่ายไร้สาย พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดต่อได้ที่ 1. ห้อง One stop Services ชั้น 1 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เบอร์โทร 053-943827 e-mail : onestop@cmu.ac.th 2. อาคารราชนครินทร์ ชั้น M คณะแพทยศาสตร์ 

CMU e-Planning

เป็นระบบที่เข้ามาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการงานแผนและงบประมาณ จะช่วยให้การบริหารจัดการงานแผนงบประมาณ มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น สามารถตรวจสอบ ติดตาม ประมวลผลรายงานได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาและความซ้ำซ้อนในการทำงาน ออกรายงานสำหรับผู้บริหารได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบสามารถสนับสนุนการจัดทำงบประมาณของมหาวิทยาลัย การจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้เงินประจำปี การติดตามผลการปฏิบัติงานและผลการใช้เงินประจำปี การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น 

Eduroam

บริการโรมมิ่งระบบ Wireless ข้ามเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากร ของมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกสามารถใช้งานระบบ Wireless ของสมาชิกที่ให้บริการผ่านชื่อระบบ Wireless “eduroam” 

CMU Private Cloud

CMU Private Cloud คือ Virtual Private Server (VPS) ในลักษณะการให้บริการแบบ Private Cloud ให้กับส่วนงานในระดับคณะ สำนัก และสถาบันเท่าภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เท่านั้น โดยแต่ละส่วนงานจะสามารถสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนของได้ภายในข้อจำกัดของทรัพยากรที่สำนักได้จัดสรรให้ตามขนาดของหน่วยงาน โดยส่วนงานจะต้องกำหนดประสิทธิภาพของแต่ละเครื่องภายใต้ทรัพยากรที่มอบให้ตามความเหมาะสมด้วยตนเองผ่านหน้า Web Site ที่ทางสำนักฯได้จัดสรรให้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://network.cmu.ac.th/wiki/index.php/CMU_Private_Cloud
 

CMU MOOC

CMU MOOC (Massive Open Online Course) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

Microsoft Campus Agreement

บริการซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ให้บริการ ได้แก่ Microsoft Windows และ Microsoft Office โดยการขอใช้งานซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ต้องใช้ CMU Account ในการระบุตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการ

CMU VPN

(Virtual Private Network) ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ยังสามารถใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยได้ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัยบทความต่าง ๆ ของสำนักหอสมุด ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ใช้จากที่ไหนก็ได้โดยการเชื่อมต่อ VPN จะต้องยืนยันตัวตนโดยบัญชีผู้ใช้ไอทีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Account) ก่อนเชื่อมต่อทุกครั้ง 

Personal Web hosting

บริการพื้นที่จัดทำ เว็บไซต์ส่วนบุคคล 500 MB แก่นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองรับการใช้ บริการเว็บเพจด้วยภาษา HTML การอัพโหลดเว็บไซต์ด้วย Windows Explorer โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้

1. เปิดโปรแกรม Windows Explorer ในช่อง Address Bar พิมพ์ ftp://myweb.cmu.ac.th
2. พิมพ์บัญชีผู้ใช้อีเมลของมหาวิทยาลัยและรหัสผ่านที่ถูกต้อง
3. เข้าสู่ห้อง public_html ให้นำ หน้าเว็บมาเก็บไว้ในห้องนี้ และหน้าเริ่มต้นใช้ชื่อ index.html
4. เมื่ออัพโหลดเว็บเพจสำเร็จ สามารถดูเว็บไซต์ส่วนตัวได้ที่ http://myweb.cmu.ac.th/
5. สามารถใช้โปรแกรม ftp client อื่น ๆ ในการอัพโหลดไฟล์

New Media Studio

New Media Studio บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงการให้บริการเช่าห้องสตูดิโอ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ติดต่อสอบถามได้ที่ 053-943855 

CMU SIS

ระบบสารสนเทศนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศส่วนบุคคลให้กับนักศึกษา ทั้งในส่วนของข้อมูลทะเบียนประวัติ ข้อมูลกิจการนักศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนกระทั้งสำเร็จการศึกษา และ หลังสำเร็จการศึกษา ประกอบด้วยระบงานย่อยหลากหลายระบบงาน อาทิเช่น ระบบแสดงผลข้อมูลสารสนเทศส่วนบุคคล ข้อมูลผลการเรียน ระบบประเมินการเรียนการสอนและประเมินกระบวนวิชา ระบบนัดหมายอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบกิจกรรมนักศึกษา ระบบทุนการศึกษา ระบบวินัยนักศึกษา ระบบงานกีฬา ระบบแนะแนว ระบบจัดหางานสำหรับนักศึกษา ระบบตรวจสอบปัญหานักศึกษา ระบบจัดการหอพักนักศึกษา ระบบเลือกตั้งนายกสโมสรนักศึกษาแบบออนไลน์ เป็นต้น และเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถใช้งานระบบได้ในฐานะนักศึกษาเก่า ซึ่งจะมีระบบที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจอีกหลายระบบงาน เช่น ระบบเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ระบบจองภาพถ่ายรับปริญญา ระบบเลือกตั้งนายกสมาคมนักศึกษาเก่าแบบออนไลน์ ที่รองรับการเลือกตั้งได้จากทั่วทุกมุมโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

CMU Mail (Microsoft Outlook)

ระบบอีเมล (@cmu.ac.th) เพื่อนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีความปลอดภัย ความเสถียรภาพ และประสิทธิภาพ มีระบบการทำงานร่วมกันในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นระบบอีเมล การนัดหมายผ่านปฏิทิน และการจัดเก็บเอกสารออนไลน์ 



Digital literacy

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยเน้นให้บุคลากรมีความสามารถด้านการนำความรู้ด้านไอทีไปเพิ่มศักยภาพในการสนับสนุนภารกิจหลักขององค์กร การนำเอาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ และ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร 

CMU OAuth

ระบบสำหรับให้บริการการยืนยันตัวตนจากส่วนกลาง บนมาตรฐาน OAuth 2.0 (CMU OAuth) เพื่อให้ผู้พัฒนาระบบฯ ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบฯ ที่ต้องการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานด้วย CMU IT Account ได้ ซึ่งบริการดังกล่าวจะช่วยลดภาระสำหรับผู้พัฒนาระบบฯ ในส่วนของการพัฒนาระบบการจัดการบัญชีผู้ใช้เอง (Local Account) และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานระบบฯ ซึ่งไม่จำเป็นต้องจดจำบัญชีผู้ใช้หลายบัญชี นอกจากนี้ยังตอบสนองแนวคิด Single Account for All Services โดยระบบ CMU OAuth ถูกพัฒนาขึ้นบนมาตรฐาน OAuth 2.0 ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยมากกว่าการให้บริการการยืนยันตัวตนแบบเดิม (แบบ Radius) 

CMU e-Learning (KC-Moodle)

บริการระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ CMU e-Learning KC-Moodle ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการเรียนการสอนผ่านระบบมากกว่า 2,100 กระบวนวิชา และจำนวนสื่อออนไลน์มากกว่า 200 บทเรียน ภายใต้ชื่อ CMU e-Learning KC-Moodle ที่มีการพัฒนาต่อยอดอย่างสมบูรณ์เช่น ระบบติดตามความก้าวหน้าและผลการเรียนของนักศึกษา โดยมีการอบรมวิธีการใช้งานระบบ ปีละ 2 ครั้ง ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้บริการอบรมการใช้งานระบบนอกสถานที่ตามความต้องการ อีกทั้งยังมีบริการให้คำ ปรึกษาแก่คณาจารย์ที่ต้องการเปิดกระบวนวิชา รวมถึงบริการให้คำ ปรึกษาแก่คณาจารย์และนักศึกษาที่พบปัญหาการใช้ระบบ ภายในระบบมีบทเรียนฟรีออนไลน์มากกว่า 100 บทเรียน โดยแบ่งออกเป็น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา 

Web hosting

บริการพื้นที่เว็บไซต์สำหรับหน่วยงาน ชมรม โครงการ กิจกรรม กลุ่มวิจัย ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณสมบัติของพื้นที่เว็บไซต์

• พื้นที่ 10 GB
• รองรับภาษา php 5.2.6
• ฐานข้อมูล mysql 5.0.51a 

Jumbo Guest Account

สร้างบัญชีผู้ใช้งานชั่วคราว (Guest Account) แบบใช้งานเพียงวันเดียว จำนวนสูงสุด 5 บัญชีต่อวัน และสามารถสร้างบัญชีขึ้นใหม่เพิ่มเติมได้ในวันถัดไป รับรองผู้มาติดต่องาน หรือผู้มาเยี่ยมเยือนของตนเอง ให้สามารถใช้ระบบเครือข่ายไร้สาย @JumboPlus และ @JumboPlus5GHz ภายในมหาวิทยาลัยได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มาเยือนของตนเองได้

CMU Account

บัญชีไอทีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMU Account เป็นกุญแจสำคัญในการระบุตัวตนสำหรับการเข้าใช้บริการไอทีของมหาวิทยาลัย อาทิ e-mail, Wi-Fi, CMU SIS, CMU Online โดยผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนด CMU Account (xxxxxxx@cmu.ac.th) และรหัสผ่านด้วยตนเอง 

ITSC Smart Class Room

ITSC Smart class Room บริการให้คำปรึกษาการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาการสอนในลักษณะการบูรณาการ ICT และสื่อใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อเข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทำแบบทดสอบแบบฝึกหัด หรือเข้าไปร่วมสนทนากับผู้เรียนอื่น ๆ ได้ 1. บริการผลิตสื่อในรูปแบบ Streaming Media บริการผลิตสื่อรูปแบบ Video streaming พร้อมกับสื่อนำเสนอเช่น Power Point หรือภาพประกอบ ซึ่งผลิตขึ้นในห้องCMU Smart Classroom โดยคณะ/คณาจารย์สามารถขอรับบริการผลิตสื่อ และชมรูปแบบตัวอย่างสื่อที่ผลิตขึ้นได้ที่ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. บริการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โหวตเพื่อการศึกษา บริการอุปกรณ์การโหวตทางอิเล็กทรอนิกส์(Clicker) ทั้งในและนอกสถานที่ สามารถตั้งคำถามให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนโดยการตอบคำถามหรือการโหวต สำหรับคณะ/คณาจารย์ที่ต้องการใช้งาน 3. บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT และสื่อใหม่ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์053-943868 

ITSC Meeting Room

ให้บริการห้องประชุมสัมมนา ที่รองรับได้ตั้งแต่ 50-300 คน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 50 เครื่อง พร้อมระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรเจคเตอร์ (Projector) เครื่องเสียงสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ และ เอกชน เพื่อใช้ในการจัดฝึกอบรม สัมมนา หรือจัดกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน

MIS Training

อบรม ให้ความรู้ แนะนำ การใช้งานระบบสารสนเทศส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เช่น CMU MIS, CMU SIS, CMU EIS, CMU e-Document และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ติดต่อสอบถามได้ที่ 053-943832

Mail Group

ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย สามารถส่งอีเมลไปยังผู้ใช้งานภายในมหาวิทยาลัยแบบกลุ่มได้ เพื่อการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ โดยส่งอีเมลไปยังที่อยู่อีเมลของกลุ่มนั้น ๆ ผู้ส่งจะต้องจะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนงานให้เป็นผู้ส่งอีเมลไปยังกลุ่มนั้น ๆ

- บุคลากรแต่ละส่วนงาน
- นักศึกษาแต่ละคณะ (ป.ตรี)
- นักศึกษาแต่ละคณะ (บัณฑิต ป.โท ป.เอก)
- นักศึกษาเก่า แต่ละคณะ
- อื่นๆ (ทำหนังสือมาขอที่ ITSC)

Google Drive

Google drive บริการพื้นที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าคลาวด์สตอเรจ (cloud storage) ซึ่งทำให้เราสามารถจัดเก็บไฟล์และเข้าถึงไฟล์ได้จากที่ใดก็ได้ เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

โดย Log In ด้วย e-mail@elearning.cmu.ac.th
 

CMU EIS

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้เครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) หรือ BI เป็นระบบสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนและการตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสารสนเทศด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในรูปแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) อาทิเช่น ด้านการเงิน ด้านบุคลากร ด้านนักศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านการดำเนินงาน เป็นต้น โดยที่ระบบจะส่วนสดงผลในลักษณะภาพรวมของของมูลแต่ละด้าน (Dashboard) ผู้บริหารสามารถเลือกดูข้อมูลในมุมมองที่สนใจได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ นอกจากนั้นผู้บริหารสามารถยังเลือกไขว้ข้อมูลในมุมมองที่สนใจได้ด้วยตนเอง