หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
ทุนการศึกษา
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
นักชีววิทยา คณะวิทย์ มช. ร่วมค้นพบ ธาราทุม พืชชนิดใหม่ของโลกวงศ์กระดังงา
21 พฤษภาคม 2568
คณะวิทยาศาสตร์
ดร.ฉัตรธิดา วิยา นักอนุกรมวิธานพืช องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ร่วมกับทีมวิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.อานิสรา ดำทองดี นักวิจัยหลังปริญญาเอก นายอรุณ สินบำรุง นายพรธวัช เฉลิมวงศ์ นายผดุงศักดิ์ เสือแก้ว นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รองศาสตราจารย์ ดร.สุธีร์ ดวงใจ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นางสาวหทัยชนก จงสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมกันค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในวงศ์กระดังงา (Annonaceae) จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Sageraea multiovulata
Wiya, Sinbumr. & Chaowasku และมีชื่อไทยว่า “ธาราทุม” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Plant Systematics and Evolution ปีที่ 311 ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
“ธาราทุม” หรือ “กะโมกน้ำ” ชื่อท้องถิ่น “ปิ๊ตัน” จัดอยู่ในสกุลกะโมกเขา (Sageraea) มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 18 เมตร ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีครีมถึงเหลืองอ่อน ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลือง มีเมล็ดจำนวนมาก เรียงตัว 2 แถว อนึ่ง ต้นธาราทุมมีนิเวศวิทยาที่โดดเด่นไม่เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน กล่าวคือ พบขึ้นอยู่ใกล้ชายฝั่งแม่น้ำตาปี ในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในแต่ละปีพื้นที่ดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน จึงเป็นที่มาของชื่อ (ธารา-สายน้ำ ทุม-ต้นไม้) โดยผลย่อยของธาราทุมจะสุกในช่วงเริ่มต้นฤดูน้ำหลาก ราวเดือนตุลาคม สันนิษฐานว่าเมื่อผลสุกหล่นลงไปในน้ำ กระแสน้ำจะช่วยพัดพาไปยังพื้นที่ ๆ เหมาะสมต่อการกระจายพันธุ์ นอกจากนี้การที่ผลแช่อยู่ในน้ำยังช่วยให้เปลือกผลอ่อนนิ่มและย่อยสลายได้ง่ายขึ้น ส่วนคำระบุชนิด “multiovulata” มีความหมายว่า “มีออวุลจำนวนมาก” สะท้อนลักษณะสำคัญของพืชชนิดใหม่นี้ที่มีออวุล 19–20 อันต่อรังไข่ ซึ่งมีมากสุดเท่าที่เคยมีรายงานในสกุลนี้ (5–12 อันต่อรังไข่)
จากการประเมินสถานภาพทางด้านการอนุรักษ์ในเบื้องต้น พบว่า “ธาราทุม” มีสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered; CR) เนื่องจากพบประชากรของพืชชนิดนี้เพียงแหล่งเดียว บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกทั้งกลุ่มประชากรยังมีการกระจายพันธุ์ในวงแคบ ล้อมรอบด้วยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ได้รับการดูแลโดยชุมชนบ้านบางประ นำโดยนายประมวล ประสมรอด ผู้ประสานงานชุมชน ทั้งนี้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้รับมอบกล้าพันธุ์ธาราทุมจาก นายจีรวิทย์ ศรีไชยขรรค์ นักวิจัยอิสระจากภาคประชาชนผู้มีความสนใจในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และผู้ร่วมวิจัย จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำมาปลูกเลี้ยงไว้ภายในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เพื่อเป็นการสำรองพันธุกรรมและเป็นการอนุรักษ์พืชนอกถิ่นกำเนิด ด้านการใช้ประโยชน์จากต้นธาราทุม ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม หากมีการศึกษาวิจัยถึงสารสำคัญและแนวทางในการใช้ประโยชน์จากพืช ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
ภาพและข้อมูล โดย
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
งานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: