CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
โรคหลอดเลือดสมองต้องรู้ !
14 ตุลาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
แบ่งสาเหตุออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
1.โรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตัน พบได้ 80 %
2.โรคหลอดเลือดสมองแตก พบได้ 20 %
ประเทศไทยพบว่าในปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 300,000 คน หรือทุก 2 นาที จะมีผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย
สาเหตุของโรคหลอดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยคือ
1.ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่
-อายุ อายุมากมีความเสี่ยงมากกว่า
-เพศ ชายมีแนวโน้มเป็นมากกว่าหญิง
-เชื้อชาติ
2.ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
-โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การสูบบุหรี่/ใกล้ผู้สูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ที่พบคือ
-พูดลำบาก พูดไม่ชัด ไม่เข้าใจภาษา
-ปากตก ปากเบี้ยว มุมปากไม่เท่ากัน
-อ่อนแรงที่แขนหรือขา ยกไม่ขึ้น อาการอ่อนแรงครึ่งซีก
หากมีอาการใดอาการหนึ่งทั้งหมดนี้ทันทีทันใด ให้สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แนะนำให้พบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือโทรศัพท์ “1669” ทันที
การรักษา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตัน จะเป็นการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ โดยมีข้อบ่งชี้คือผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลภายใน “4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ” ในขณะที่ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก ต้องดูว่าจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่ เช่น เลือดออกในปริมาณมาก สมองบวม เป็นต้น
ข้อแนะนำในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดหลอดเลือดในสมอง ได้แก่
-ควรตรวจสุขภาพประจำปี
-ลดภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน อ้วนลงพุง เลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ปรับอาหารที่รับประทานให้เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายในระดับปานกลาง (สามารถพูดคุยกับคนรอบข้างได้) สัปดาห์ละ 3-5 วัน ครั้งละ 30-40 นาที หากมีโรคร่วมอาจจะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ร่วมด้วย
ข้อมูลโดย อ.นพ.กิตติ เทียนขาว อาจารย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#โรคหลอดเลือดสมอง
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: