มช. ร่วมเปลี่ยนชีวิต สร้างรอยยิ้ม ด้วยนวัตกรรม Nasoform แก้ไขภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่

3 พฤศจิกายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ในเด็กแรกเกิด และความผิดปกติบริเวณใบหน้าและศีรษะ พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว โดยทั่วไปเกิดขึ้นประมาณ 0.003% หรือ ทารกแรกเกิด 10,000 คน จะมีเด็กที่เป็นภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ 3 คน ด้วยอัตราการเกิดของไทย ปี 2563 อยู่ที่ 720,000 คน เท่ากับว่า ในหนึ่งปีมีเด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ที่เกิดขึ้นใหม่ ทั่วประเทศมากกว่า 70 คนทุกๆ ปี การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมิได้สิ้นสุดแค่การรักษาทางกาย แต่ยังต้องช่วยดูแลทางด้านจิตใจและสังคมด้วย ความพยายามในการแก้ไขผู้ป่วยภาวะปากแหว่งให้มีใบหน้าเหมือนคนปกติทั่วไปให้ได้เร็วที่สุด เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการมาโดยตลอด และด้วย Nasoform อุปกรณ์ควบคุมรูปทรงจมูก ผลงานนวัตกรรมจากทีมแพทย์ มช. ช่วยแก้ไขความบกพร่องบนใบหน้า สามารถช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ การันตีด้วยรางวัลนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ

    


ปัญหาดังกล่าวเป็นที่มาของการคิดค้นนวัตกรรม Nasoform ซึ่งเป็นความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ ศูนย์บูรณะช่องปากและใบหน้า คณะทันตแพทยศาสตร์, ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ คณะแพทยศาสตร์, หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และความร่วมมือจากมูลนิธิเกื้อดรุณ เพื่อใช้แก้ปัญหารูปจมูกที่ไม่คงสภาพของเด็กปากแหว่งเพดานโหว่หลังการผ่าตัดแก้ไข เปรียบเสมือนการใส่เฝือกเพื่อคงตําแหน่งโครงสร้างจมูก ป้องกันการผิดรูปและรักษาความสมมาตรของจมูกไว้ในระหว่างกระบวนการหายของแผลและในระหว่างเจริญเติบโต รูจมูกที่ตีบถูกขยายและจัดรูปทรงให้มีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติ โดย Nasoform ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนท่ออะคริลิกสำหรับสอดเข้าไปในรูจมูกทั้้งสองข้างเพื่่อพยุงโครงสร้างและลดการ ยุบตัวและคงรูปจมูก ส่วนโครงลวดที่่โอบรอบจมูกเพื่่อจัดแนวฐานจมูกและควบคุมความกว้างของปีกจมูก และส่วนแป้นอะคริลิกด้านบนสำหรับคล้องแถบยึดเพื่่อนำไปติดเทปไว้กับหน้าผาก การใช้อุปกรณ์โดยเริ่่มต้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเมื่่อทำร่วมกับการนัดปรับอุปกรณ์เป็นระยะ แรงในปริมาณที่่เหมาะสมที่่ถ่ายทอดไปสู่โครงสร้างจมูกอย่างต่อเนื่องจะทำจมูกมีรูปทรงตามที่่ศัลยแพทย์วางแผนไว้ภายในเวลา 6-12 เดือน ซึ่งทำให้จมูกผู้ป่วยเชิดขึ้นและทรงจมูกใกล้เคียงปกติ

ด้วยศักยภาพของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมที่จะช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่าคนปกติทั่วไป มีรอยยิ้มที่สดใส สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข 

#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
#CMUSDGs #CMUSDG3 #CMUSDG9 #CMUSDG17
#SDG3 #SDG9 #SDG17
แกลลอรี่