การนำเสนอการใช้ข้อมูลทางทางชีวโมเลกุลในการระบุชนิดของรา Diaporthe forlicesenica

19 เมษายน 2565

คณะเกษตรศาสตร์

ราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายทางชีววิทยาสูง และมีคุณสมบัติพิเศษในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่มีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และลักษณะการสืบพันธุ์ ทำให้การระบุชนิด และจัดระบบอนุกรมวิธานค่อนข้างซับซ้อน
ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการนำเสนอการใช้ข้อมูลทางทางชีวโมเลกุลในการระบุชนิดของรา Diaporthe forlicesenica ที่พบในประเทศอิตาลีและประเทศไทย และเชื่อมโยงลักษณะสัณฐานวิทยาที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ (asexual-sexual morph connetions) โดยใช้การเปรียบเทียบลำดับนิวคลิโอไทด์ของราในตำแหน่ง ITS, tef1, tub2 และ his ร่วมกับข้อมูลทางสัณฐานวิทยาตามระบบอนุกรมวิธานดั้งเดิม
ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Phytotaxa
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.biotaxa.org/.../article/view/phytotaxa.516.1.1

#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUBGCmodel #CMUSDGs #CMUSDG1 #CMUSDG2 #CMUSDG3 #CMUSDG12
แกลลอรี่