CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ผู้บริหาร IceCube และผู้เชี่ยวชาญจาก University of Delaware เข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมดิจิตัล เพื่อการสังเกตการณ์ เฝ้าระวัง และเตือนพิบัติภัยอวกาศ ณ อาคารฟิสิกส์ 1 คณะวิทย์ มช.
7 สิงหาคม 2566
คณะวิทยาศาสตร์
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 Professor Albrecht Karle รองผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์และเครื่องมือโครงการวิจัยหอสังเกตการณ์นิวตริโน IceCube พร้อมด้วย Professor Paul Evenson จาก University of Delaware ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมดิจิตัล เพื่อการสังเกตการณ์ เฝ้าระวัง และเตือนพิบัติภัยอวกาศ (Digital Innovation Center for Observation, Monitoring, and Warning of Space Hazards) ที่ดำเนินการโดยกลุ่มวิจัยระบบบนิเวศโลก-อวกาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ อาคารฟิสิกส์ 1 ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในการนี้ ผศ.ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา หัวหน้ากลุ่มวิจัย ผศ.ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล และ ผศ.ดร.สุวิชา วรรณวิเชียร ร่วมให้การต้อนรับ โดยมี รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชม พร้อมกับร่วมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ กับโครงการวิจัยหอสังเกตการณ์นิวตริโน IceCube ด้วย
โครงการศูนย์นวัตกรรมดิจิตัลเพื่อการสังเกตการณ์ เฝ้าระวัง และเตือนพิบัติภัยอวกาศ เป็นโครงการวิจัยและให้บริการวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำเสนอและให้บริการข้อมูลด้านสภาพอวกาศ (Space Weather) เพื่อแจ้งเตือน เฝ้าระวัง และเตือนภัย ผลกระทบจากสภาพอวกาศจากเหตุการณ์รุนแรงจากดวงอาทิตย์ เช่น การปะทุที่ผิวดวงอาทิตย์ การปลดปล่อยก้อนมวลโคโรนา การเกิดพายุสุริยะ เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูลทางอวกาศจากสถานีตรวจวัดรังสีคอสมิก และอนุภาคพลังงานสูงที่เป็นเครือข่ายทั่วโลก ที่มีทั้งบนพื้นโลก ใต้พื้นดิน และบนอวกาศ การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์สภาพอวกาศและผลกระทบ และการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยสภาพอวกาศ เพื่อแจ้งเตือนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อโลกและกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ระบบนำร่อง ระบบไฟฟ้า ระบบท่อขนส่ง ฯลฯ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจอวกาศ
โดยในปัจจุบัน โครงการศูนย์เตือนภัยสภาพอวกาศมีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) IceCube Neutrino Observatory University of Delaware University of Hawaii Shinshu University Korea Astronomy and Space Science Institute และ Korea Polar Research Institute เป็นต้น
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: