U2T มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล)

12 พฤศจิกายน 2564

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

วีดีโอประมวลภาพของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) - U2T ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ดำเนินงาน โดย หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม และ รองศาสตราจารย์ ดร.จิราพร กุลสาริน ที่ปรึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ร่วมกับ และอาจารย์นักวิจัยพร้อมทีมสนับสนุน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้ง 50 ตำบล

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับอนุมัติโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในรอบที่ 1 โดยมีการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 ธันวาคม 2564 รวมเป็นระยะเวลา 11 เดือน จำนวนทั้งสิ้น 50 ตำบล ซึ่งได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน และพิษณุโลก ในการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำ และร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และให้เกิดการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน โดยแบ่งเป็น 4 ด้านหลักที่สำคัญได้แก่

1. การพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพ



2. การสร้างและพัฒนา Creative Economy



3. การนำองค์ความรู้ไปช่วยพัฒนาชุมชน (Health care)



4. การส่งเสริมสิ่งแวดล้อม Circular Economy


ภายใต้ภารกิจทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ระดมสรรพกำลัง คณาจารย์ นักวิจัย จากคณะส่วนงานต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 32 คน จาก 18 คณะ/ส่วนงาน ที่ร่วมกันนำความรู้ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ มาปรับใช้ในพื้นที่ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างมาตราฐาน การแปรรูปผลผลิต รวมไปถึงด้านการพัฒนาเรื่องการตลาด หรือ platform ที่จะปรับใช้ในอนาคต

การดำเนินโครงการU2T ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ 50 ตำบล เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเสริมสร้างอาชีพใหม่ภายในชุมชน โดยแบ่งออกทั้งหมด 4 ด้าน ด้านแรกด้านการพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพ ด้านที่ 2 การสร้างและพัฒนา Creative Economy ด้านที่ 3 การนำองค์ความรู้ไปช่วยพัฒนาชุมชน (Health care) เป็นการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยนำไปพัฒนาชุมชน ด้านที่ 4 การส่งเสริมสิ่งแวดล้อม Circular Economy เน้นการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ

กระบวนการรับสมัคร
กระบวนการรับสมัครของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการรับสมัครผู้รับจ้างงานผ่านเว็บไซต์ 1t1u.se.cmu.ac.th/ ซึ่งพัฒนาและดูแลโดยกองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ระบบการส่งผลปฏิบัติงานรายเดือน
ผู้รับจ้างต้องทำการเข้าสู่ระบบเพื่อทำการส่งผลการปฏิบัติทุกเดือนพร้อมกับผลการอบรม โดยรับรองและอนุมัติจากหัวหน้าโครงการ โดยได้มีการกำหนดการส่งผลการปฏิบัติประจำเดือนตามปฏิทินของส่วนกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้การเบิกจ่ายค่าตอบแทนของแต่ละเดือนสามารถโอนเข้าภายในอาทิตย์แรกของเดือน


การพัฒนาทักษะสำหรับแต่ละกลุ่มงานให้สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายของกลุ่มงาน
โดยทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญกลุ่มงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งได้ 2 กลุ่มงาน
การพัฒนาเสริมทักษะให้กับผู้รับจ้างงานกลุ่มงานที่ 1 กลุ่มงานการวิเคราะห์ข้อมูล
โดย วิทยากรและผู้ช่วย ผศ.ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ
การพัฒนาเสริมทักษะให้กับผู้รับจ้างงานกลุ่มงานที่ 5 กลุ่มงานพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ โดย วิทยากรและผู้ช่วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข และ ดร.สุระศักดิ์ เมาเทือก วิทยากร

การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดย ทีม Data Science
ดำเนินงานวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งให้สป.อว. โดยทีม Data Science ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบการทำข้อมูล 3 ท่าน
1. รศ.ดร.จักรพงศ์ นาทวิชัย
2. ดร.ไพรัช. พิบูลย์รุ่งโรจน์
3. น.ส.กฤตยพร จันทรนิมิ

ทิศทางและการต่อยอด
การขับเคลื่อนการทำงานในครั้งนี้ เราเห็นถึงความสำคัญที่สร้างให้เห็นรูปธรรมและ การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ดังนั้นเราไม่ต้องการให้ปรากฏภาพการทำงานที่สิ้นสุดโครงการ ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงมีนโยบาย และ แนวทางที่จะสนับสนุน ต่อยอดการทำงานของพื้นที่ ที่ยังต้องการองค์ความรู้เข้าไปหนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยเราเห็นความสำคัญของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดกับคนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการทำงานต่อเนื่อง โดยมีการจัดสรรงบประมาณภายใน ขึ้นมารองรับและ ต่อยอดการทำงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย และ วัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป

ขอขอบคุณนักวิจัยพื้นที่ตำบลดังต่อไปนี้ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการถ่ายทำ
1.รศ.ดร.กานดา หวังชัย ตำบลเทพเสด็จ เชียงใหม่
2.ผศ.ดร.ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล ตำบลลวงเหนือ เชียงใหม่
3.อ.ดร.สุบัน พรเวียง ตำบลท่าศาลา เชียงใหม่
4.ดร.สุวิภา จำปาวัลย์ ตำบลเมืองคอง เชียงใหม่
5.ผศ.ดร.สุภัทร ชูประดิษฐ์ ตำบลดอยหล่อ เชียงใหม่
และทีมถ่ายทำและตัดต่อ จาก ทีม 239 studio https://www.facebook.com/239Studio

ข้อมูลโดย : หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่