ฝ่ามือ มีเชื้อโรคมากกว่าที่คิด

7 มิถุนายน 2567

คณะแพทยศาสตร์

บนร่างกายของคนเรามีเชื้อโรคกระจายอยู่ทั่วไป เช่น จมูก ปาก แขน ขา และฝ่ามือ รวมถึงอวัยวะภายใน ซึ่งจุดที่พบเชื้อโรคมากที่สุดคือฝ่ามือ พบเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียประมาณ 3,000 สายพันธุ์ โดยเชื้อแบคทีเรียแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ และแบคทีเรียที่เป็นภัยต่อร่างกาย


บนฝ่ามือเรา มีเชื้ออะไรบ้าง
– E.Coli (ทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ)
– Streptococci (ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ)
– Shigella (ทำให้เกิดอาการท้องเสีย)
– Streptococcus Pneumoniae (ทำให้เกิดอาการปอดบวม)
– Haemophillus (ทำให้เกิดอาการตาแดง)
– Hepatitis A (ทำให้ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบเอ)
– Stapholococcus (ทำให้เกิดตุ่มหนอง ติดเชื้อทางผิวหนัง)
– Pseudomonas (ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ)


เมื่อไหร่ที่ควรล้างมือ (CDC แนะนำให้ล้างมือดังนี้)
– ก่อน ระหว่าง และหลังการเตรียมอาหาร
– ก่อนรับประทานอาหาร
– หลังจากใช้ห้องน้ำเสร็จ
– หลังจากสั่งน้ำมูก ไอ หรือจาม
– หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม
– หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือของเสีย
– หลังจากจัดการขยะ


7 ขั้นตอนล้างมือให้ถูกวิธี
– ฝ่ามือ 2 ข้างถูกัน
– ฝ่ามือถูหลังมือ และนิ้วถูซอกนิ้ว
– ฝ่ามือถูฝ่ามือ และนิ้วถูซอกนิ้ว
– หลังมือถูฝ่ามือ
– ถูนิ้วหัวแม่มือโดยฝ่ามือ
– ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ
– ถูรอบข้อมือสลับกันทั้ง 2 ข้าง


การล้างมือที่ถูกต้องจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อโรคท้องร่วง ท้องเสีย ลดลง 40% และภูมิคุ้มกันบกพร่องร้อยละ 60 ในกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง 60% ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ลำไส้ 20-60% รวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก


ศ.ดร.พญ.เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวสมัชญา หน่อหล้า
ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช.

แกลลอรี่