CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
มือมีแผลแค่สัมผัสหมูดิบ ถึงตาย ไม่ใช่แค่หูดับ
29 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
เชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (STREPTOCOCCUS SUIS) อยู่ในทางเดินหายใจ และอยู่ในเลือดของหมูที่ป่วย และติดต่อจากหมูสู่คน การติดเชื้อไม่ได้เกิดจากระบบการหายใจ แต่เป็นการติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ
ติดต่อได้โดย
1 .เกิดจากการบริโภคเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่ดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
2. เกิดจากการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องในหมู และเลือดของหมูที่เป็นโรค โดยติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย
อาการของผู้ที่ติดเชื้อ
อาการทั่วไป
-ไข้สูง
-อุจจาระร่วง
-เวียนศีรษะ
-หอบเหนื่อย
-หนาวสั่น
??อาการเฉพาะ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้ ปวดศีรษะมาก คอแข็ง
- หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทหู จะทำให้การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน จนถึงขั้นหูหนวกทั้งสองข้าง
-บางรายติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง
-ผู้ป่วยที่รอดชีวิตบางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก
การป้องกัน
1.หลีกเลี่ยงการบริโภคหมูดิบ ปรุงให้สุกจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่ทานสุกๆ ดิบๆ
2. หากมีบาดแผล รอยขีดข่วน ต้องปิดแผลให้มิดชิด สวมถุงมือ ก่อนสัมผัสเนื้อหมูดิบทุกครั้ง และเมื่อสัมผัสแล้วให้ล้างมือให้สะอาดทันที
ข้อแนะนำ
-ควรเลือกซื้อเนื้อหมู จากตลาดสด หรือ ห้างสรรพสินค้า ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน
-ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ
- ไม่บริโภคเนื้อหมูดิบโดยเด็ดขาด
- ไม่บริโภคเนื้อหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค
-สำหรับผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ แม่ค้าหมูสด ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
** หากมีอาการป่วยหลังสัมผัสหมู หรือหลังทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที จะช่วยลดอัตราการหูหนวกและเสียชีวิตได้
ข้อมูลโดย ผศ.พญ.ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สุขภาพดีกับหมอสวนดอก
#สื่อสารองค์กรMedCMU #STREPTOCOCCUS SUIS
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: