มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี แด่รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. เลิศรัก ศรีกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสที่ PODD คว้ารางวัลชนะเลิศในเวทีโลก รางวัล Grand Prize Winner The Trinity Challenge Solution

21 กรกฎาคม 2564

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์


                    ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี แด่รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. เลิศรัก ศรีกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสที่ PODD คว้ารางวัลชนะเลิศในเวทีโลก รางวัล Grand Prize Winner The Trinity Challenge Solution ด้านการตรวจจับโรคระบาด (Identify) ในประชากรสัตว์ก่อนการติดต่อสู่มนุษย์และกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ข้ามทวีป ณ ห้องประชุมตะวัน กังวานพงศ์ อาคารยุทธศาสตร์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
                   ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ Participatory Onehealth Disease Detection: PODD (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) ได้นำแอปพลิเคชัน PODD หรือ “ผ่อดีดี” ช่วยเฝ้าระวังสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสัญชาติไทย โดยบริษัทโอเพ่นดรีม เปลี่ยนเกษตรกรไทยและชุมชน ให้เป็นนักสืบโรคเพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คว้าเงินรางวัลชนะเลิศมูลค่า 1.3 ล้านปอนด์จากอังกฤษในโครงการ The Trinity Challenge รางวัลชนะเลิศด้าน การตรวจจับโรคระบาด (Identify) ในประชากรสัตว์ ก่อนการติดต่อสู่มนุษย์ และกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ข้ามทวีป เงินรางวัลที่ได้รับจะใช้สำหรับขยายผล Solutions แก้ปัญหาโรคระบาดใหญ่ข้ามทวีป ด้วย data & analytics ให้โลกมีความพร้อม และ ตอบสนองต่อวิกฤตโรคระบาดอุบัติใหม่ ได้ดีกว่าเดิม
                  "ผ่อดีดี" หรือ PODD เป็นระบบปฏิบัติการและโปรแกรมดิจิทัลสำหรับเฝ้าระวังและจัดการโรค/ภัยพิบัติ ที่ชุมชนใช้งานและร่วมเป็นเจ้าของ ทำงานภายใต้ความร่วมมือของรัฐ เอกชน และชุมชน ผ่านการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวระดับตำบล ของอปท. เพื่อมุ่งหวังให้ อปท. มีเครื่องมือตรวจจับเหตุผิดปกติสุขภาพหนึ่งเดียวได้อย่างรวดเร็ว (Early Detection) โดยอาศัยสมาร์ทโฟนรายงาน ประมวลผล และแจ้งข่าวสารอัตโนมัติแบบ real time ทำให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดการตอบสนองขั้นต้นในการระงับเหตุด้วยต้นเองอย่างรวดเร็ว และได้ผล ตามแผนตอบสนองฉุกเฉินระดับตำบล (Rapid Response) มีผลช่วยสร้างความสามารถในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลและเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในระดับรากฐาน พร้อมช่วยเสริมประสิทธิผลของระบบเฝ้าระวังโรคระบาดในคน สัตว์ และภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการทำงานของภาครัฐ สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหาร
                   ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว ในคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และสาธารณภัย ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถรายงานเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นในชุมชนผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และมีการแจ้งเตือนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่รับผิดชอบ ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้อย่างทันท่วงทีและมีใจความสำคัญคือการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของของชุมชนและ อปท. ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ระบบดิจิทัลผ่อดีดีมีการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ในปัจจุบันสามารถเฝ้าระวังปัญหาของชุมชนมากกว่า 14 ฟีเจอร์ ประกอบด้วย


1. ฟีเจอร์ เฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า - สัตว์กัด (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-bite.html)
2. ฟีเจอร์ ควบคุมไข้เลือดออก
2.1) สำรวจลูกน้ำยุงลาย (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ www.cmonehealth.org/tutorial/report-larva.html)
2.2) ระบุพิกัดผู้ป่วยไข้เลือดออก (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-gps.html)
3. ฟีเจอร์ เฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดสัตว์ (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-sick.html)
4. ฟีเจอร์ เฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดผิดปกติในคน (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-disease.html)
5. ฟีเจอร์ รายงานและช่วยจัดการไฟป่าและหมอกควัน (สามารถศึกษาการใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-fire.html)
6. ฟีเจอร์ สิ่งแวดล้อม (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-environment.html)
7. ฟีเจอร์ คุ้มครองผู้บริโภค (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-protection.html)
8. ฟีเจอร์ อาหารปลอดภัย (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-food.html)
9. ฟีเจอร์ จุดหรือกิจกรรมเสี่ยงต่อภัยสุขภาพ (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-risky.html)
10. ฟีเจอร์ ภัยธรรมชาติ และสาธารณภัย (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-disaster.html)
11. ฟีเจอร์ แจ้งรับความช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-bed-patient.html)
12. ฟีเจอร์ สำรวจประชากรสุนัขแมว (กำลังอัปเดท ข้อมูล)
13. podd PGS รับรองเกษตรอินทรีย์
14. เฝ้าระวังโรคโควิด-19

อ้างอิงจาก https://www.cmu.ac.th/th/article/82ce8b8a-025e-42e7-be1d-bf051c6ed5e6
 

แกลลอรี่