CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
วันตระหนักรู้โรคออทิสติกโลก WORLD AUTISM AWARENESS DAY
2 เมษายน 2567
คณะแพทยศาสตร์
วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็น “วันตระหนักรู้โรคออทิสติกโลก” (World Autism Awareness Day) เพื่อสนับสนุนให้สังคมเกิดความเข้าใจและการยอมรับของบุคคลที่เป็นออทิสติก ส่งเสริมให้ผู้ป่วยออทิสติกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นๆ และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันประเทศไทย มีสถิติบุคคลออทิสติกกว่า 3 แสนคนที่ควรได้รับการดูแลและสนับสนุนให้มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเท่าเทียม
โรคออทิสติก (autistic disorder) หรือกลุ่มอาการออทิสติก (autistic spectrum) เป็นความผิดปกติทางจิตเวชเด็กที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านภาษา สังคม และพฤติกรรม ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความพร่องทางพัฒนาการ ซึ่งอาการแสดงพบได้ตั้งแต่ระดับรุนแรงเพียงเล็กน้อยจนถึงระดับที่รุนแรงมาก
ในกลุ่มเด็กที่มีอาการออทิสติกจะมีพัฒนาการล่าช้า 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การเข้าสังคม และด้านพฤติกรรม โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ได้แก่ ในเด็กเล็ก การที่ไม่สบตา ไม่ยิ้มตอบ ไม่มองหน้าคน ไม่สนใจเวลาเรียกชื่อ พูดได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆในวัยเดียวกัน หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือเมื่อโตขึ้น จะเห็นว่าไม่รู้วิธีเริ่มต้นบทสนทนา ขาดความสามารถในการเข้าหาเด็กคนอื่น มักเล่นตามลำพังหรือแยกตัว จนพอเข้าวัยเรียน อาจมีปัญหาไม่เข้าใจสีหน้าท่าทางและอารมณ์ของผู้อื่น ทำให้ไม่เข้าใจสถานการณ์ทางสังคมได้
ด้านพฤติกรรม เช่น มีพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ไม่เหมาะสม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการสะบัดมือซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ชอบมองพัดลมหมุนๆ ยึดติดอาหาร กินอาหารซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น ต้องทำตามขั้นตอน หรือแบบแผนที่วางไว้ มีความไวต่อการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมากหรือน้อยผิดปกติ เช่น ไม่ชอบเสียงบางอย่าง ชอบเข้าไปดมมากผิดปกติ
ซึ่งอาการของออทิสติกนั้นมีหลากหลายมาก ตั้งแต่มีอาการรุนแรงเห็นชัดเจน จนถึงอาการเป็นน้อยต้องเฝ้าติดตามอาการจนเด็กโตขึ้นอาจจะเห็นได้ชัด หรือ กลุ่มที่มีลักษณะสนใจเรื่องใดเรื่องนึงเป็นพิเศษจนมีความรู้ลึกซึ้งและเป็นความสามารถพิเศษ อย่างที่เราเห็นและคุ้นเคยกัน ตามรายการต่างๆ เช่น ความสามารถด้านการวาดรูป การร้องเพลง การคำนวณ
ด้านของการดูแลและรักษาเด็กที่มีอาการออทิสติก จำเป็นต้องได้รับการตรวจดูแลรักษา ส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะในการเข้าสังคม โดยแพทย์และทีมสหวิชาชีพ หากสามารถพามารับการดูแลรักษาได้เร็วโดยเฉพาะในช่วง 3 ขวบปีแรก จะส่งผลให้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี ที่จะทำให้เด็กสามารถปรับตัวกับสังคม เข้าโรงเรียน ช่วยเหลือตัวเองได้
อย่างไรก็ตาม ออทิสติกก็เป็นเพียงภาวะหนึ่งที่ทำให้คนเรามีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากพวกเราทุกคนมีความตระหนักถึงกลุ่มเด็กที่มีอาการเหล่านี้ ยอมรับ เข้าใจ และให้โอกาส ก็จะมีส่วนร่วมส่งเสริมให้กลุ่มเด็กที่มีอาการออทิสติกมีโอกาสได้รับการศึกษา ประกอบอาชีพ และสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนทั่วไป
ข้อมูลโดย หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง : นส.ธัญญลักษณ์ สดสวย
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#WorldAutismAwarenessDay
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: