บูรณาการความรู้จีโนม สู่คุณภาพชีวิตของประชากรไทย ส่งต่อความรู้จากมนุษย์โบราณ สู่การแพทย์แม่นยำแห่งอนาคต

3 กุมภาพันธ์ 2566

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ถ้าเรารู้ว่า 'คนไทยมาจากไหน' เราก็จะรู้ว่า 'จะรักษาโรคให้คนไทยได้อย่างไร' อย่างแม่นยำ
.
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับสากล ถึงความสัมพันธ์ของเชื้อโควิด-19 ที่มีต่อพันธุกรรมของมนุษย์นีแอนเดอธัลและเดนิโซวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อสายมนุษย์โบราณ
.
ใครก็ตามที่มีดีเอ็นเอบางส่วนเหมือนกับมนุษย์โบราณเหล่านี้ จะมีอาการของโควิดที่รุนแรงกว่าคนอื่น นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมบางประเทศถึงมีการติดโควิด-19 ที่ง่ายกว่าที่อื่น หรือมีอาการของโรคที่รุนแรงมากกว่า
.
จากองค์ความรู้ด้าน จีโนม ของมนุษย์มาสู่งานวิจัยที่ช่วยชีวิตผู้คนในยุคปัจจุบันได้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า นอกจากเราจะเข้าใจองค์ความรู้พื้นฐานว่า ‘เรามาจากไหน’ แล้ว การเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่มีไปสู่ศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะ 'การแพทย์แม่นยำ' คือการใช้ข้อมูลเชิงดีเอ็นเอมาปรับการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรคให้ตรงจุด และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน
.
“องค์ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจประชากรในประเทศไทยของเราเอง ว่าเราเป็นใครมาจากไหน มันจึงควรเป็นองค์ความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ไทยจะต้องทำเองในประเทศของเรา เพราะนี่คือประชากรที่เรากำลังจะรักษาหรือให้ยากับเขา เลยกลายเป็นว่า ความรู้พันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยามันไม่ใช่การแค่รู้ว่าคนไทยมาจากไหนอีกต่อไปแล้ว”
.
เราคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.จตุพล คำปวนสาย อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยจากนานาชาติที่ร่วมศึกษาดีเอ็นเอของมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเรื่องบทบาทของจีโนม (ดีเอ็นเอทั้งหมดของแต่ละคน) ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน
.
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://ngthai.com/education/46263/genome-study-in-thai


ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/NationalGeographicThailand และ https://ngthai.com/education/46263/genome-study-in-thai/ 

ข้อมูลโดย : https://ngthai.com/education/46263/genome-study-in-thai/
แกลลอรี่