CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เชื้อโรคจากมือ : อันตรายที่มากกว่าที่คิด
11 ตุลาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
ความสำคัญของการล้างมือ
มนุษย์ใช้มือในหลากหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การติดต่อสื่อสาร หรือการประกอบอาหาร โดยที่เราอาจไม่ทันคิดว่า มือของเรายังเป็นช่องทางสำคัญในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เมื่อเราหยิบจับสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคก็สามารถติดมากับมือเรา และหากเราสัมผัสอาหารหรือร่างกายโดยไม่ล้างมือ เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคได้ง่าย
เชื้อโรคที่มาจากมือสกปรก
เชื้อโรคที่ติดมากับมือที่ไม่ได้ล้างสามารถนำไปสู่โรคหลายชนิด ดังนี้ :
1. โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 วัณโรค ซึ่งสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย
2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง อหิวาตกโรค ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และพยาธิชนิดต่างๆ ซึ่งเกิดจากการหยิบอาหารใส่ปากด้วยมือที่ไม่สะอาด
3. โรคติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง เชื้อรา และหิด เมื่อมือสัมผัสแผลหรือสารคัดหลั่งแล้วมาสัมผัสร่างกายตัวเองหรือผู้อื่น
ทุกคนสามารถติดเชื้อโรคจากมือได้ แต่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะมีความเสี่ยงสูงและอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
เมื่อไหร่ควรล้างมือ?
เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค เราควรล้างมือในหลายสถานการณ์ โดยเฉพาะในสถานพยาบาล องค์การอนามัยโลกได้กำหนด 5 ช่วงเวลาสำคัญในการล้างมือสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ :
1. ก่อนสัมผัสผู้ป่วย
2. ก่อนทำหัตถการ
3. หลังสัมผัสอุปกรณ์หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
4. หลังสัมผัสผู้ป่วย
5. หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย
ในชีวิตประจำวัน เราควรล้างมือเมื่อ
• สังเกตเห็นว่ามือเปื้อน
• ก่อนและหลังเตรียมหรือรับประทานอาหาร
• หลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสอุปกรณ์สาธารณะ
• ก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย
• หลังสัมผัสสัตว์หรือของเสียจากสัตว์
วิธีการล้างมือให้สะอาด
เพื่อให้มือปราศจากเชื้อโรค ควรถอดแหวน สร้อยข้อมือ หรือนาฬิกาออกก่อนล้างมือ และใช้วิธีล้างมือที่ถูกต้องด้วยน้ำและสบู่เป็นเวลา 40-60 วินาที โดยปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอน ดังนี้ :
1. ล้างฝ่ามือด้านหน้า
2. ฟอกหลังมือและง่ามนิ้วด้านหลัง
3. ฟอกง่ามนิ้วมือบริเวณตรงกลาง
4. ฟอกนิ้วและข้อนิ้วมือด้านหลัง
5. ฟอกรอบนิ้วหัวแม่มือ
6. ฟอกปลายนิ้วและเส้นลายฝ่ามือ
7. ฟอกรอบข้อมือ แล้วเช็ดมือด้วยผ้าสะอาด
การล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและลดโอกาสการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ.นพ.ปรเมษฐ์ วินิจจะกูล อาจารย์หน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง: นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: