CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
การสัมมนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ
22 พฤษภาคม 2562
คณะวิทยาศาสตร์
ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวัสดุขั้นสูงสำหรับอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ภายใต้ความร่วมมือของศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จัดการสัมมนา หัวข้อ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวรายงานการจัดงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม หัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่
การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ทำงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ ที่มีความสนใจงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ ได้สร้างเครือข่ายการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานงานวิจัยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสู่การพัฒนาองค์ความรู้เชิงประยุกต์ ภายใต้ความร่วมมือแกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ การผลิตต้นแบบ และผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และพลาสติกชีวภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา จำนวน 70 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ มช. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมทั้งบริษัทเอกชน ร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยาย
ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวัสดุขั้นสูงสำหรับอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจหลักเพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการทำงานวิจัยร่วมกันด้านวัสดุขั้นสูงสำหรับอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์ได้และเซ็นเซอร์ ตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เช่น แก๊สเซ็นเซอร์ ไบโอเซ็นเซอร์ทางไฟฟ้าเคมีพิมพ์ได้ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์พิมพ์ได้ รอยต่อพีเอ็นพิมพ์ได้ เทอร์โมอิเลคทริกพิมพ์ได้ ฉลากบรรจุภัณฑ์ฉลาด และ วัสดุทางการแพทย์สามมิติ เป็นต้น
การเติบโตอย่างรวดเร็วของวงการแพทย์ในปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทำให้สามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น โลหะ เซรามิก พลาสติก วัสดุชีวภาพ
การพิมพ์ 3 มิติ ขยายวงกว้างในทางการแพทย์หลากหลายสาขา ทั้งการสร้างอวัยวะเทียม การศัลยกรรมแก้ไขขากรรไกร ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำและรักษาได้อย่างตรงจุด เพื่อช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการพิมพ์ 3 มิติที่นำไปใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ เช่น สร้างแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาทางการแพทย์ สร้างอุปกรณ์ที่ใช้เป็นแนวทาง (Surgical Guilds) ในการรักษาผู้ป่วย อุปกรณ์ที่ฝังในร่างกายผู้ป่วย (Implants) เช่น โครงร่างเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ป่วย โครงร่างใบหูแทนกระดูกอ่อนเพื่อให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาห่อหุ้มเป็นใบหู ชิ้นส่วนกะโหลก ฟันเทียม ขาเทียม แขนเทียม ไปจนถึงการสร้างไตเทียมและหลอดเลือดเทียม ซึ่งมีการพัฒนาให้แพทย์สามารถทำความเข้าใจในอวัยวะของผู้ป่วยรายบุคคลเพื่อสามารถจัดทำอุปกรณ์การรักษาอย่างเหมาะสมกับตัวผู้ป่วย และการนำไปใช้พิมพ์อวัยวะเทียมเพื่อใช้ทดแทนอวัยวะของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้พลาสติกยังถูกนำไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ อีกมากมายหลายประเภท เช่น โมเดลหุ่นโชว์ เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน เคสสำหรับใส่มือถือ ซึ่งสินค้าเหล่านี้บางชิ้นอาจถูกทิ้งหลังใช้งานได้ไม่นาน การใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้มาเป็นวัสดุในการผลิตก็จะช่วยลดปริมาณขยะลงได้มาก มิติใหม่ในยุครู้ทันเทคโนโลยีจึงมีการนำนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3D Printing มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน นอกจากจะช่วยลดโลกร้อนแล้วยังช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นจากอุบัติเหตุต่างๆ โดยไม่ต้องเจ็บตัวเพิ่มจากการผ่าตัดซ้ำด้วย
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: