มช.ติดตั้งระบบโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าและพลังงานน้ำอัจฉริยะ ส่งเสริมพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

18 พฤษภาคม 2565

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์

โครงการการติดตั้งระบบ Smart Meter ทดแทนมิเตอร์ชนิดอนาล็อกแบบเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงข่ายพลังงานไฟฟ้า ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการติดตั้งระบบ Smart Meter เพื่อการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการเป็นเมืองต้นแบบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่ง ที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่สอดคล้องกับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ส่งเสริมพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (CMU Smart City – Clean Energy) และเป็นเมืองต้นแบบ และสามารถถ่ายทอดสู่ประชาคมได้อย่างเป็นรูปธรรม

ผลลัพธ์ (Outcomes)
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวิธีการตรวจติดตามการใช้พลังงานภายในอาคาร และโครงข่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบริหารจัดการพลังงาน และการบริหารจัดการค่าไฟของแต่ละส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับระบบการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย (Smart Management Center) ตามยุทธศาสตร์เชิงรุกสิ่งแวดล้อมและพลังงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฐานข้อมูล (Database) และโครงข่ายด้านพลังงาน ในการบริหารจัดการค่าไฟ ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบการจัดการอัจริยะ (Smart Management Center) เพื่อการจัดการระบบสาธารณูปโภคภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ
3. หน่วยงานที่ติดตั้งระบบ Smart Meter สามารถนำข้อมูลการแสดงผลการใช้ไฟฟ้าไปใช้ในการลดการใช้ไฟฟ้า (kWh.) ได้อย่างน้อย ร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562
4. หน่วยงานที่ติดตั้งระบบ Smart Meter มีส่วนช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ได้อย่างน้อย ร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562
5. หน่วยงานที่ติดตั้งระบบ Smart Meter มีแผนเชิงรุก หรือกลยุทธ์ในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม
6. มาตราการการจัดการทางด้านพลังงาน สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี
7. จำนวนค่าไฟที่ลดได้ หลังจากติดตั้งระบบ Smart Meter คิดเป็นระยะคืนทุนในการติดตั้งระบบ ไม่เกิน 3 ปี

โครงการการติดตั้งระบบมิเตอร์น้ำอัจฉริยะ (Smart Water Meter) เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ต้นแบบระบบตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำของแต่ละส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับระบบการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย (Smart Management Center) ตามยุทธศาสตร์เชิงรุกสิ่งแวดล้อมและพลังงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลลัพธ์ (Outcomes)
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิธีการตรวจติดตามการใช้ปริมาณน้ำภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดการบริหารจัดการน้ำของแต่ละส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับระบบการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย (Smart Management Center) ตามยุทธศาสตร์เชิงรุกสิ่งแวดล้อมและพลังงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฐานข้อมูล (Database) ด้านการใช้ปริมาณน้ำ ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบการจัดการอัจฉริยะ (Smart Management Center) เพื่อการจัดการระบบสาธารณูปโภคภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ
3. หน่วยงานที่ติดตั้งระบบมิเตอร์น้ำอัจฉริยะ สามารถนำข้อมูลการแสดงผลการใช้ปริมาณน้ำไปใช้ในการลดการใช้ปริมาณน้ำ ได้อย่างน้อย ร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562
4. หน่วยงานที่ติดตั้งระบบมิเตอร์น้ำอัจฉริยะ มีแผนเชิงรุก หรือกลยุทธ์ในการลดปริมาณการใช้ปริมาณน้ำอย่างเป็นรูปธรรม
5. มาตราการการจัดการการใช้ปริมาณน้ำ สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี
6. จำนวนค่าน้ำที่ลดได้ หลังจากติดตั้งระบบมิเตอร์น้ำอัจฉริยะ คิดเป็นระยะคืนทุนในการติดตั้งระบบ ไม่เกิน 7 ปี

สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร.053-94-2007 ต่อ 310,314 หรือดูรายละเอียดที่ www.erdi.cmu.ac.th


แกลลอรี่