CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
“นิ้วล็อก มือชา” ปัญหากวนใจที่ต้องรักษา
22 กุมภาพันธ์ 2565
คณะแพทยศาสตร์
ปัจจุบัน โรคนิ้วล็อค มือชา พบได้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่มักใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นประจำ มีการใช้คีย์บอร์ด หรืออุปกรณ์ต่างๆ เป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน ส่งผลทำให้เกิดอาการมือชา นิ้วล็อคได้ ซึ่งหากถ้ายังปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการมักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ปัญหาที่ผู้ป่วยพบบ่อยครั้ง เกี่ยวกับอาการมือชา คือเมื่อตื่นมามักมีอาการปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือ ขยับนิ้วมือได้ไม่คล่อง ขยับนิ้วไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือเริ่มรู้สึกว่าเมื่องอนิ้วแล้วเหยียดนิ้วไม่ออก ต้องคอยช่วยคลายมือออก รวมไปถึงอาการปวดของนิ้วที่ใช้งานได้ไม่คล่องเหมือนปกติ
ผลกระทบต่อผู้ป่วย ส่วนใหญ่ที่พบผู้ป่วยจะขยับมือได้ไม่คล่อง มีอาการปวด นิ้วชา บริเวณมือมีความรู้สึกเหมือนสวมถุงมือ หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ความรู้สึกลดลงไปจากเดิม บางรายที่มีอาการปวดข้อมือ จะทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันผิดปกติ เช่น จับช้อนรับประทานอาหารไม่ถนัดในขณะที่บิดข้อมือ ยกของหรือกำมือได้ไม่แน่น บางรายที่ทำงานในออฟฟิศ ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน ใช้เม้าส์ จับเม้าส์แล้วรู้สึกปลายนิ้วชาต้องคอยสะบัดมือตลอดเวลา อาการต่างๆ เหล่านี้หากได้รับการตรวจและการดูแลรักษาอย่างถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมจะช่วยให้มือสามารถกลับมาใช้งานเป็นปกติได้อีกครั้งหนึ่ง
สำหรับโรคมือที่พบได้บ่อย ในปัจจุบัน ได้แก่ โรคมือชา นิ้วล็อก ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบที่มีอาการปวดข้อมือ เป็นต้น ปัญหาเกี่ยวกับมือเหล่านี้ พบได้ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มประชากรทั่วไป และอาจพบได้บ่อยขึ้นถึงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน โรคข้อ เอ็นอักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ เก๊าท์ ภาวะตั้งครรภ์ เป็นต้น
มือชา เกิดจากอะไร?
โรคมือชา เกิดจากการทำงานของเส้นประสาทผิดปกติ เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น เส้นประสาทถูกกดทับ โดยพบบ่อยที่สุดที่ตำแหน่งข้อมือ และการกดทับที่ตำแหน่งอื่นๆ จะเกิดอาการชาตามเส้นประสาทที่ต่างกัน
โรคอื่นๆ ที่ส่งผลต่อเส้นประสาท ได้แก่ กระดูกคอเสื่อม กดทับเส้นประสาท โรคเหล่านี้จะทำให้มีอาการชาที่นิ้วมือได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการตรวจหาตำแหน่ง และหาสาเหตุที่แท้จริงจะช่วยให้การรักษาถูกต้องตรงจุดมากขึ้น หรือแม้กระทั่งในบางรายอาจจะเกิดจากโรคสมองหรือไขสันหลัง ที่ทำให้การรับความรู้สึกผิดปกติไป ผู้ป่วยจะมีอาการชาได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้แพทย์ที่ทำการตรวจจะสามารถวินิจฉัยอาการเพื่อหาสาเหตุได้ เช่นถูกกดทับบริเวณข้อมือ เส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อศอก หรือรากประสาทบริเวณคอถูกกดทับจากกระดูกคอเสื่อม
นอกจากนี้ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดของอาการชาบริเวณข้อมือ สาเหตุส่วนมากเกิดจากการใช้งาน การทำงาน การใช้งานข้อมือ และนิ้วมือซ้ำๆ จะทำให้เนื้อหุ้มเอ็นมีการหนาตัว และเบียดเส้นประสาท
เส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ พังผืดทับเส้นประสาท มักมีอาการปวดข้อมือ ปวดร้าวขึ้นแขน ไหล่ ชาปลายนิ้ว โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง อาการมักจะกำเริบตอนกลางคืน รุ่งเช้า และเวลามีการใช้งานของข้อมือ มักพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะบวมน้ำ การกดเบียดจะเกิดขึ้นได้บ่อยขึ้น อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า มีอาการเหมือนนอนทับมือตัวเอง และจะมีอาการเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการใช้ข้อมือมากๆ โดยเฉพาะท่าที่ต้องงอข้อมือเป็นเวลานานๆ หรือแอ่นข้อมือเป็นเวลานาน เช่นขี่มอเตอร์ไซด์ หรือจักรยาน
การรักษาเบื้องต้น เมื่อมีอาการ ทำได้โดยลดการเคลื่อนไหว ลดการใช้งานข้อมือ-นิ้วมือ หากทำได้ ใส่อุปกรณ์ตามข้อมือ ในช่วงกลางคืน
ทำการบริหารนิ้วมือ ข้อมือ อย่างเหมาะสม ช่วยลดอาการหรือหายได้ ในกรณีที่เป็นระยะแรกๆ
หากมีอาการเพิ่มมากขึ้น อาจรักษาได้โดยการรับประทานยา กลุ่มต้านการอักเสบ จะช่วยให้เยื่อหุ้มเอ็นที่หนาตัวลดลงแล้ว เส้นประสาทอาจจะถูกกดน้อยลง จะมีการตอบสนองอยู่บางส่วน อาจจะไม่ทุกราย หากมีอาการมาก อาจจะฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์ จะเป็นการฉีดเฉพาะที่ ผลทั่วร่างกายจะเป็นในระดับต่ำ ขนาดยาใช้ไม่มาก ยาจะออกฤทธิ์โดยตรงบริเวณตำแหน่งรอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นที่หนาตัวลดขนาดลง เส้นประสาทไม่โดนกด
จากประสบการณ์ที่รักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองค่อนข้างดี ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ อาการจะดีขึ้น โดยจะฉีดครั้งเดียวเพื่อดูผลการตอบสนอง หลังจากฉีดยาโดยมากจะตอบสนองประมาณ 3-4 วัน หลังจากที่ฉีด อาการจะค่อยๆ ลดลง อย่างน้อยผู้ป่วยจะนอนหลับได้สบายขึ้น เนื่องจากอาการเหล่านี้รบกวนการนอน เพราะความปวด
ผู้ป่วยบางรายอาจจะหายและไม่มีอาการกลับเป็นซ้ำอีก แต่ไม่ทุกราย โดยเฉลี่ยจากการศึกษาพบว่าหลังฉีดยาแล้วหายแบบไม่กลับเป็นซ้ำอาจจะสูงถึงประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ แต่มีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งที่หลังฉีดยาไปแล้ว เมื่อผ่านไปประมาณ 3-4 เดือน จะมีอาการกลับเป็นซ้ำ อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ หากต้องฉีดยาซ้ำกันมากกว่า 2-3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดยา และควรเลือกรักษาด้วยการผ่าตัด
ในผู้ป่วยที่พบว่ากล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนแรง หยิบจับสิ่งของหลุดมือ ไม่มีแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน โดยมากแพทย์จะแนะนำให้เลือกรักษาด้วยการผ่าตัด ตั้งแต่แรก เพื่อฟื้นฟูเส้นประสาทให้กลับมาใช้งานได้เร็วที่สุด
การรักษาโดยการผ่าตัด
เป็นการรักษาโดยตัดแผ่นที่รัดเส้นประสาทอยู่ ไม่ให้เส้นประสาทถูกกด เป็นการผ่าตัดเพื่อคลายเส้นประสาทที่ถูกรัดอยู่ แผลผ่าตัดมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากผ่าตัดแล้วบางรายอาการชายังไม่หายเป็นปกติทันที ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ว่าเส้นประสาทถูกกดนานแค่ไหน หากเส้นประสาทถูกกดไม่นาน การทำงานของเส้นประสาทเสียไปไม่มากจะกลับมาเป็นปกติได้เร็วกว่า โดยทั่วไปแล้วผลที่พบหลังจากผ่าตัด อันดับแรกคือ อาการปวดที่มีอยู่จะหาย อาการชาจะคงมีอยู่ได้ระยะหนึ่ง ระหว่างรอเส้นประสาทฟื้นตัว จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาทถูกกดนานแค่ไหน
อาการนิ้วล็อก
เป็นอาการที่เมื่อผู้ป่วยกำมือไปแล้ว แต่นิ้วไม่สามารถคลายออกมาได้ สามารถเกิดได้กับทุกนิ้วบางรายเป็นหลาย ๆ นิ้วพร้อมกัน
ภาวะนิ้วล็อกสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ
ระยะแรก ผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างเดียว ปวดในขณะที่กำมือหรือแบมือ ตำแหน่งที่ปวดอยู่ประมาณโคนนิ้ว ใกล้บริเวณฝ่ามือ
ระยะที่สอง จะมีอาการสะดุดในขณะที่คลายนิ้ว แต่เหยียดนิ้วออกได้เอง
ระยะที่สาม ล็อกแล้วเหยียดไม่ออก ต้องช่วยคลายออกจึงจะคลายออกได้
ระยะที่สี่ ล็อกค้าง ไม่สามาระคลายนิ้วออกได้เลย อาจจะติดในท่างอ ไม่สามารถเหยียดได้ตรง หรือติดในท่าเหยียดไม่สามารถงอนิ้วหรือกำมือลงได้เต็มที่
สาเหตุของนิ้วล็อกจะคล้ายกับมือชา
-การใช้งานนิ้ว งอ เกร็งนิ้วต่อเนื่อง หรือซ้ำๆ
-ปัจจัยเสี่ยงโรคประจำตัว เพิ่มความเสี่ยงเบาหวาน รูมาตอยด์ เก๊าท์
การรักษา
-ลดการใช้งาน
-ฉีดยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยมีโอกาสหาย สูงมาก 50-60 เปอร์เซ็นต์
-การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ฉีดยาและมีการกลับเป็นซ้ำ
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการควรที่จะปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.จิรชาติ ไกรศรินท์ ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มช.
#นิ้วล๊อก #มือชา
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: