“กั๊ดอกใจ๋บ่ดี” ภาษาเหนือที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คืออาการที่ผู้ป่วยมักจะเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยมาก โดยสาเหตุเหล่านี้เป็นอาการที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ส่วนใหญ่จะกังวลว่าจะเป็นหรือไม่
คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ 37,000 ราย ในแต่ละวันมีผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยโรคหัวใจ 1,185 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 ราย
ภาวะโรคหัวใจ
หากผู้ป่วยมาด้วยอาการ “กั๊ดอกใจ๋บ่ดี” อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดโคโรนารี่ โรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจรูมาติก โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคเยื่อบุหัวใจบีบรัด โรคติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์
หน้าที่ของหัวใจ
สูบฉีดเลือดเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน เลือดที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
เจ็บอย่างนี้ไม่เหมือนโรคหัวใจ คือ
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ปกติ ขณะเจ็บ
-เจ็บนานตลอดทั้งวัน
-เจ็บเป็นบริเวณแคบๆ
-กดเจ็บ
-อายุน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
-เจ็บแปล๊บๆเจ็บเสียดแทง
อาการเจ็บจากโรควิตกกังวล
ตำแหน่งไม่แน่นอน ลักษณะ ตื้อๆแปล้บๆ ไม่รุนแรงมาก ระยะเวลา ไม่แน่นอน อาจเป็นทั้งวัน
สิ่งกระตุ้น คือความเครียด ดีขึ้นได้จากการได้นั่งพัก แต่ไม่หายจากอาการเจ็บหน้าอก
อาการร่วม ได้แก่ มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ปวดหัวเรื้อรัง ถอนหายใจบ่อยๆ มีอะไรจุกๆอยู่ที่คอหอย รู้สึกกลัว วิตกกังวล
เจ็บอย่างไรถึงสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ
-แน่นหน้าอกรุนแรง มักมีเหงื่อแตกร่วมด้วย
-อึดอัด เหมือนมีอะไรมากดทับ หรือบีบรัด
-ร้าวไปที่แขน คอ
-เป็นขณะออกแรงทำงาน มีอารมณ์โกรธ หรือเคร่งเครียด
เจ็บอย่างไรต้องรีบมาโรงพยาบาล
-เจ็บรุนแรง นานกว่า 20 นาที พักแล้วไม่ดีขึ้น
-สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
-เวลาที่เสียไป เท่ากับกล้ามเนื้อที่เสียไป
-กล้ามเนื้อหัวใจเสียไปมากๆ จนถึงหัวใจล้มเหลว
โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
1.ระดับไขมันในเลือดสูง
2.ความดันโลหิตสูง
3.การสูบบุหรี่
4.เบาหวาน
5.อ้วนลงพุง และพันธุกรรม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: อ.นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ และที่ปรึกษาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU