หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
ทุนการศึกษา
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
นักวิจัย MRDI หารือผู้ว่าฯ ลำปาง และ ผอ. สบอ.13 สาขาลำปาง ขับเคลื่อนงานวิจัย PM 2.5
18 กรกฎาคม 2568
สถาบันวิจัยพหุศาสตร์
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 ดร.กรด เหล็กสมบูรณ์ นักวิจัย เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าพบผู้บริหารและคณะทำงานในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัย “รูปแบบการบริหารจัดการไฟป่าแบบบูรณาการเพื่อลด PM 2.5 โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมในจังหวัดลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน”
เมื่อเวลา 09.30 น. ดร.กรด เหล็กสมบูรณ์ ได้เข้าพบ นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นายกฤษณะ พินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และคณะทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยดังกล่าว ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ
ต่อมาในเวลา 11.00 น. ดร.กรด เหล็กสมบูรณ์ ได้เดินทางไปยังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง เพื่อเข้าพบ นายสุธน ตันโสภณธนาศักดิ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง และคณะทำงาน เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยนี้ร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการไฟป่าและปัญหา PM 2.5 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โครงการวิจัยนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ซึ่งประสบปัญหาไฟป่าและฝุ่น PM 2.5 เป็นประจำทุกปี การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมมาใช้ จะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีระบบและยั่งยืน
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: