ตัวแทนคณะทำงานโครงการ INNO4Tourism ร่วมประชุม PSC Meeting พร้อมเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่หารือความร่วมมือทางวิชาการ
28 พฤศจิกายน 2567
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
คณะทำงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยคณบดีด้านความร่วมมือต่างประเทศและการระดมทุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร อาจารย์ประจำวิทยาลัยฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา คำอักษร ผู้ช่วยคณบดีการพัฒนาความรู้และการจัดการนวัตกรรม และหัวหน้าศูนย์พัฒนาความรู้และนวัตกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินโครงการ (Project Steering Committee Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ INNO4Tourism (Innovative Curricula for Life-Long Learning of Sustainable Tourism Workforce) ร่วมกับพันธมิตรจากสหภาพยุโรปและเอเชียอีก 8 สถาบัน เมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ณ University of Macedonia (UoM) เมือง Thessaloniki สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)
โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมติดตามความก้าวหน้าและภาพรวมการดำเนินโครงการ INNO4Tourism เตรียมความพร้อมสำหรับการรายงานความก้าวหน้าในช่วงเวลา 1 ปีแรกของการดำเนินงาน แก่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Union Commission) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยมีตัวแทนจากสถาบันพันธมิตรทั้งในสหภาพยุโรปและเอเชียได้ร่วมหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รายงานปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งติดตามการส่งมอบผลลัพธ์งาน รวมถึงการทบทวนแผนงานที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดไปของการดำเนินโครงการปีที่ 2 และ 3
สำหรับโครงการ INNO4Tourism เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของโครงการ Erasmus+ โปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา (Capacity Building in Higher Education: CBHE Action) ระยะเวลา 3 ปี เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2569 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ที่พันธมิตรทั้ง 9 สถาบันและองค์กร ได้ร่วมกันผลักดันโครงการ INNO4Tourism ให้บรรลุภารกิจการส่งมอบผลลัพธ์ต่าง ๆ
ทั้งนี้ ภารกิจถัดไปของทำงานพันธมิตร INNO4Tourism จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคอร์สเรียนออนไลน์ ประกอบด้วย 8 รายวิชาย่อย เสริมสร้างชุดความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานให้แก่กลุ่มผู้เรียนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการในประเทศไทยและ สปป.ลาว เช่น ทักษะการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว ทักษะสีเขียว ทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่การยกระดับ “ศูนย์แนะแนวอาชีพ” หรือ “The Career Office” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอาชีพแบบองค์รวม (Holistic Career Services) เพื่อส่งเสริมการนำร่องกลไกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจ (University-Business Cooperation Mechanism: UBC Mechanism) ภายใต้การดำเนินงานของโครงการ INNO4Tourism ต่อไป
ในโอกาสนี้ ในนามตัวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าหารือความร่วมมือเพิ่มเติมทางวิชาการและงานวิจัย ร่วมกับรองอธิการบดี University of Macedonia ภายใต้บันทึกความเข้าใจ MEMORANDUM OF UNDERSTANDING between UNIVERSITY OF MACEDONIA, GREECE and Chiang Mai UNIVERSITY, THAILAND เสริมสร้างโอกาสความร่วมมือด้านวิชาการ การพัฒนางานวิจัย และความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ University of Macedonia ให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
คณะทำงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยคณบดีด้านความร่วมมือต่างประเทศและการระดมทุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร อาจารย์ประจำวิทยาลัยฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา คำอักษร ผู้ช่วยคณบดีการพัฒนาความรู้และการจัดการนวัตกรรม และหัวหน้าศูนย์พัฒนาความรู้และนวัตกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินโครงการ (Project Steering Committee Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ INNO4Tourism (Innovative Curricula for Life-Long Learning of Sustainable Tourism Workforce) ร่วมกับพันธมิตรจากสหภาพยุโรปและเอเชียอีก 8 สถาบัน เมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ณ University of Macedonia (UoM) เมือง Thessaloniki สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)
โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมติดตามความก้าวหน้าและภาพรวมการดำเนินโครงการ INNO4Tourism เตรียมความพร้อมสำหรับการรายงานความก้าวหน้าในช่วงเวลา 1 ปีแรกของการดำเนินงาน แก่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Union Commission) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยมีตัวแทนจากสถาบันพันธมิตรทั้งในสหภาพยุโรปและเอเชียได้ร่วมหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รายงานปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งติดตามการส่งมอบผลลัพธ์งาน รวมถึงการทบทวนแผนงานที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดไปของการดำเนินโครงการปีที่ 2 และ 3
สำหรับโครงการ INNO4Tourism เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของโครงการ Erasmus+ โปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา (Capacity Building in Higher Education: CBHE Action) ระยะเวลา 3 ปี เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2569 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ที่พันธมิตรทั้ง 9 สถาบันและองค์กร ได้ร่วมกันผลักดันโครงการ INNO4Tourism ให้บรรลุภารกิจการส่งมอบผลลัพธ์ต่าง ๆ
ทั้งนี้ ภารกิจถัดไปของทำงานพันธมิตร INNO4Tourism จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคอร์สเรียนออนไลน์ ประกอบด้วย 8 รายวิชาย่อย เสริมสร้างชุดความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานให้แก่กลุ่มผู้เรียนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการในประเทศไทยและ สปป.ลาว เช่น ทักษะการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว ทักษะสีเขียว ทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่การยกระดับ “ศูนย์แนะแนวอาชีพ” หรือ “The Career Office” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอาชีพแบบองค์รวม (Holistic Career Services) เพื่อส่งเสริมการนำร่องกลไกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจ (University-Business Cooperation Mechanism: UBC Mechanism) ภายใต้การดำเนินงานของโครงการ INNO4Tourism ต่อไป
ในโอกาสนี้ ในนามตัวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าหารือความร่วมมือเพิ่มเติมทางวิชาการและงานวิจัย ร่วมกับรองอธิการบดี University of Macedonia ภายใต้บันทึกความเข้าใจ MEMORANDUM OF UNDERSTANDING between UNIVERSITY OF MACEDONIA, GREECE and Chiang Mai UNIVERSITY, THAILAND เสริมสร้างโอกาสความร่วมมือด้านวิชาการ การพัฒนางานวิจัย และความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ University of Macedonia ให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
.