CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
สารพัดโรคร้าย อันตรายที่มากับ "ยุง"
30 กันยายน 2564
คณะแพทยศาสตร์
ช่วงกลางฤดูฝน แบบนี้มีโรคหลากหลายที่พบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อที่เกิดจาก “ยุง” นอกจากไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกหลายโรค ที่ยุงเป็นพาหะนำเชื้อโรคร้ายมาสู่คน
เมื่อพูดถึงยุงแล้ว คนมักจะนึกถึงยุงลาย จากการศึกษาเป็นที่ทราบกันว่า ยุงตัวผู้จะอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย เมื่อตัวเมียวางไข่ 2-3 วัน ไข่จะกลายเป็นลูกน้ำ และจากลูกน้ำก็กลายเป็นตัวโมง 4-5 วัน ใช้เวลาทั้งหมด 6-7 วัน ก่อนจะเติบโตเป็นยุง การจะกำจัดวงจรชีวิตของยุงลายจึงจะต้องขจัดแหล่งที่มีน้ำขังทุกอาทิตย์ จะทำให้สามารถตัดวงจรการเกิดยุงลายได้
โรคที่เกิดจากยุงมีหลากหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ซิกา และโรคอื่นๆ เช่นโรคเท้าช้าง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคไข้เหลือง ฯลฯ
“โรคไข้เลือดออก”
ในอดีตเราคิดว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับเด็กเท่านั้น เนื่องจากเด็กเป็นโรคนี้จำนวนมาก แต่ในปัจจุบันอัตราของการติดเชื้อ และการเสียชีวิตกลับกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยกลางคนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่แพทย์ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
จากข้อมูลของการติดเชื้อไข้เลือดออกปีที่ผ่านมา (2563) มีผู้ติดเชื้อประมาณ 7 หมื่นราย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30- 50 ปี และพบว่าสถิติการเสียชีวิตลดลงกว่าอดีตที่ผ่านมามาก สืบเนื่องมาจากการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยต้องสงสัยว่าติดเชื้อก็จะมาโรงพยาบาลเร็วขึ้น แพทย์ก็รักษาได้เร็วขึ้น อัตราการเสียชีวิตก็ลดลง
…อาการของโรคไข้เลือดออก…
เมื่อถูกยุงลายที่นำเชื้อไข้เลือดออกกัด จะมีอาการเป็นจุดจ้ำๆ เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ มีไข้สูงเฉียบพลันระดับ 39-40 องศาฯ หน้าจะแดงมาก ในขณะที่มีไข้จะมีอาการปวดศีรษะมากๆ ปวดกล้ามเนื้อ (ไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่ จะค่อนข้างคล้ายกัน) แต่ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการ ไอ มีน้ำมูก ซึ่งจะคล้ายกับโควิด-19ในขณะที่ไข้เลือดออก อาการไอ มีน้ำมูก จะไม่เด่น แต่จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นอาการไม่ว่าจะด้วย ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก หรือโควิด-19 อาการระดับแรกจะรู้สึกไม่สบายตัว มึน ปวดศีรษะนิดๆ เพลียหาวบ่อย รู้สึกไม่ปกติ แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ ให้พักผ่อนมากให้เพียงพอ หากใครมีอาการดังกล่าวแนะนำว่าไม่ต้องรอนานให้รีบพบแพทย์ทันที
…วิธีเช็คไข้เลือดออก กับโควิด-19 อาการต่างกันอย่างไร? เปรียบเทียบได้ดังนี้..
อาการของโรคไข้เลือดออก
- ไข้สูงเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส
- ในผู้ป่วยเด็กไข้อาจจะสูงจนขึ้นสมอง ทำให้เกิดการชัก และมีผลไปที่หัวใจได้ด้วย อาจถึงระดับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- มีเลือดออกตามผิวหนังหรือจุดตามตัว ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อมากในผู้ป่วยไข้เลือดออก หน้าแดง
อาการของโรคโควิด-19
- ไข้สูงจะไม่มาก ในบางราย หรือไข้อาจจะต่ำๆ ได้ แต่อาการทางระบบทางเดินหายใจจะเด่นกว่า ไอ มีเสมหะ เจ็บคอได้
- คลื่นไส้อาเจียน มีท้องเสียร่วมด้วย
- มีอาการหายใจลำบาก ไอร่วมในบางรายรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ หรือปอดบวม
วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก ทำได้โดย กำจัดแหล่งน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย , ระมัดระวังกิจกรรมต่างๆ ในช่วงกลางวันที่ทำให้เสี่ยงต่อยุงกัด , การสวมเสื้อที่ถูกต้องเหมาะสม เช่นบุคคลที่ชอบเดินป่า ต้องสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด , จัดตู้เสื้อผ้าให้เป็นระเบียบ ปราศจากยุง ฯลฯ
“โรคชิคุนกุนยา”
ยุงที่เป็นพาหะนำโรคนี้ มักพบที่ภาคใต้ แต่ปัจจุบันพบว่าโรคสามารถแพร่กระจายได้ทั่วประเทศ ปีที่ผ่านมา (2563) มีรายงานว่า โรคชิคุนกุนยา โดยทั่วไปแล้วเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการของโรคชิคุนกุนยา
มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามกระดูกเป็นอย่างมาก เกล็ดเลือดไม่ต่ำเท่ากับโรคไข้เลือดออก จุดจ้ำเลือดไม่ค่อยสูง มีอาการปวดจนตัวงอ เด็กจะร้องไห้มาก ไข้และอาการรุนแรงจะไม่สูงเท่าไข้เลือดออก ในผู้ป่วยเด็กจะมีอาการขึ้นสมองด้วย มีรายงานผู้ป่วยในกรุงเทพฯ มีเด็กที่เข้ามารักษาด้วยอาการชัก มีเยื้อหุ้มสมองอักเสบรุนแรง มีการปวดในหลายๆ ข้อ ย้ายไปย้ายมาได้เช่นกัน
ข้อบ่งชี้อาการโรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เลือดออก
โรคชิคุณกุนยา
- ไข้สูงอย่างเฉียบพลัน
- ตาแดง มีผื่นแดง
- ปอดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำจนเลือดออก
- รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ
โรคไข้เลือดออก
- ไข้สูงลอย
- ผื่นแดงจำนวนมาก
- ปวดเมื่อยน้อยกว่า
- เกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออก ผู้หญิงที่มีประจำเดือนควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากไข้เลือดออกจะทำให้ประจำเดือนออกมาก จะซ่อนอยู่ ทำให้เกิดอาการช็อคได้
- รีบพบแพทย์ทันที หากมีอาการ
ทั้ง 2 โรคดังกล่าว จะมี 3 ระยะของการเกิดโรค คือระยะเริ่มต้นที่อาการยังเป็นไม่มาก ระยะกลาง จะมีอาการใจสั่น อาเจียนมาก และปวดท้องมาก อาจเกิดช็อคได้ ให้รีบมาโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที และระยะสุดท้ายคือเริ่มหาย สังเกตได้คือจะมีอาการเริ่มหิว ปัสสาวะเริ่มมากขึ้น ไข้เริ่มลดลง
ทั้งนี้เมื่อรู้สึกว่าไม่สบาย ให้พักผ่อนอยู่กับบ้าน ดื่มในปริมาณมาก ปวดหัวให้ทานยาลดไข้ ยาพาราเซตามอล แต่อย่าทานมากเกินไป และอย่าทานยาแก้อักเสบในกลุ่ม "เอ็นเสด (NSAIDs)" หรือกลุ่มยาแก้ปวดข้อ หรือยาลดไข้สูง เพราะจะทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะได้ หากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ข้อมูลจาก: ศ.ดร.พญ.เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ยุง #ไข้เลือดออก
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: