รูปแบบใหม่ของอุปกรณ์การวิเคราะห์ที่ใช้กระดาษสำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างหลายซ้ำ โดยใช้สมาร์ทโฟน
(New designs of paper based analytical devices (PADs) for completing replication analysis
of a sample within a single run by employing smartphone)
ทีมวิจัย กลุ่มวิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ เพื่อเศรษฐกิจและสังคม บนความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ (อาจารย์) สังกัด ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์, รศ. ดร. ภก. เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม (อาจารย์) สังกัด ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์, ดร. กนกวรรณ คิวฝอ (นักวิจัยหลังปริญญาเอก) ร่วมกับ Assoc. Prof. Dr. Pei Meng Woi (อาจารย์) สังกัด Chemistry Department, Faculty of Science, University of Malaya ประเทศมาเลเซีย ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์การวิเคราะห์ที่ใช้กระดาษ ซึ่งเป็นระบบการวิเคราะห์ทางเคมีแบบใหม่ และเป็นเคมีสะอาด (Green Analytical Chemistry) โดยนำอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ รวมถึงเครื่องปริ้นท์และตัดสติ๊กเกอร์ (cutting printer) เพื่อประดิษฐ์ชิ้นอุปกรณ์ในปริมาณมากๆ ที่มีต้นทุนต่ำ ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ตรวจวัด และเพิ่มประโยชน์ในการดำเนินการวิเคราะห์ สามารถนำไปใช้ในการตรวจวัดในภาคสนาม (point of care analysis) สำหรับการประยุกต์ใช้ที่หลากหลาย เช่น ทางเภสัชกรรม (วิเคราะห์เหล็กในน้ำบำรุงเลือด) ทางสิ่งแวดล้อม (เหล็กและความกระด้างของน้ำ) และทางเกษตรกรรม (ฟอสเฟตในปุ๋ย) เป็นต้น
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการของนักวิจัยหลากหลายรุ่น (generation) จากหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ได้ผลลัพธ์เป็นอุปกรณ์การวิเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินการโดยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีสภาวะต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ที่มีงบประมาณจำกัด
งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำทางเคมีวิเคราะห์ Talanta (Q1 ISI/Scopus, Impact Factor 6.057)
อ่านบทความวิจัยได้ที่ https://doi.org/10.1016/j.talanta.2021.122848
อ้างอิง Kiwfo, K., Woi, P.M., Saenjum, C., Grudpan, K., New designs of paper based analytical devices (PADs) for completing replication analysis of a sample within a single run by employing smartphone (2022), Talanta, 236
งานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนในกระบวนวิชาเคมีวิเคราะห์สมัยใหม่และเคมีวิเคราะห์สะอาด และยังสนองตอบต่อ UN-SDGs ดังนี้ #3 (Good Health and Well-being), #4 (Quality Education), #6 (Clean Water and Sanitation), #7 (Affordable and Clean Energy), #9 (Industry, Innovation and Infrastructure), #10 (Reduced Inequality), #11 (Sustainable Cities and Communities), #12 (Responsible Consumption and Production), #14 (Life Below Water), และ #17 (Partnerships to achieve the Goal)