CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เช็กให้ดีริดสีดวง หรือมะเร็งทวารหนัก
1 มีนาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
ริดสีดวงทวารกับโรคริดสีดวงทวารมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ริดสีดวงทวาร คือเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ช่องรอบทวาร ซึ่งทุกคนมีเนื้อเยื่อนี้อยู่ มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เป็นเยื่อบุที่มีความยืดหยุ่นและมีหลอดเลือดใต้เยื่อบุ รวมถึงเส้นประสาทที่อยู่รอบๆ ช่องทวาร ระหว่างการขับถ่ายเนื้อเยื่อนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยการขับถ่าย ความยืดหยุ่นจะช่วยลดแรงเสียดสี ทำให้ไม่เกิดบาดแผล รวมถึงเมื่ออยู่ในภาวะปกติ เมื่อมีอาการไอ จาม จะเป็นตัวที่คอยช่วยทำหน้าที่ในการกลั้น ทำให้อุจจาระ หรือลมไม่เล็ดออกมา หรือแม้กระทั่งการรับรู้ถึงความรู้สึก เมื่ออยากผายลม หรืออยากขับถ่ายอุจจาระ เราสามารถแยกได้ด้วยเส้นประสาทที่อยู่รอบรูทวาร ดังนั้นเนื้อเยื่อริดสีดวงจึงมีความสำคัญในเรื่องการขับถ่ายระดับหนึ่ง เพียงแต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ตัวริดสีดวงเกิดความผิดปกติขึ้น อาทิเช่น มีการปูดยื่น เยื่อบุที่มีการบางตัวลง หรือหลอดเลือดที่มีการโป่งพองขึ้น จึงทำให้เกิดภาวะโรคริดสีดวงทวารขึ้น
ริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ริดสีดวงทวารภายใน อยู่ภายในรูทวาร มีเยื่อบุผิวลักษณะเดียวกับเยื่อบุผิวลำไส้ หากมีการปูดยื่นจะทำให้มีอาการเลือดออก หรือ ก้อนยื่นระหว่างการขับถ่ายได้
2. ริดสีดวงทวารภายนอก อยู่บริเวณขอบทวารเยื่อบุที่คลุมมีลักษณะเดียวกับเยื่อบุผิวหนัง เมื่อมีอาการบวมจากลิ่มเลือดจะทำให้มีอาการเจ็บปวดได้
•อาการบ่งชี้ของโรคริดสีดวงทวาร ได้แก่
การขับถ่ายเป็นเลือด หรือมีก้อนปลิ้นออกมาระหว่างการขับถ่าย แบ่งระยะโรคริดสีดวงทวารภายในเป็น 4 ระยะ ได้แก่
– ระยะที่ 1 เมื่อขับถ่ายอุจจาระจะมีเลือดออก แต่ไม่มีก้อนปูดยื่นปลิ้นออกให้เห็นภายนอกเนื่องจากริดสีดวงยังมีขนาดเล็ก
– ระยะที่ 2 ก้อนมีขนาดใหญ่มากขึ้น เริ่มมีการปลิ้นยื่นออกมาจากรูทวาร หลังขับถ่ายก้อนริดสีดวงจะหดกลับเข้าไปเอง
– ระยะที่ 3 ริดสีดวงมีการปลิ้นยื่นออกมาจากรูทวารระหว่างการขับถ่าย ไม่สามารถหดกลับเข้าเองได้ ผู้ป่วยต้องใช้นิ้วในการช่วยดันกลับ จะเริ่มมีปัญหาอื่นร่วมด้วย เริ่มปวดมากขึ้น
– ระยะที่ 4 ริดสีดวงออกมาแล้วค้างอยู่ด้านนอก ไม่สามารถกลับเข้าในรูทวาร เป็นระยะที่มีการปูดยื่นเยอะ ซึ่งอาจจะเป็นร่วมกับริดสีดวงภายนอก ระยะนี้ต้องเข้าสู่การรักษาด้วยการผ่าตัด
•สาเหตุของการเกิดโรค
1.ท้องผูกเรื้อรัง
2.รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป ดื่มน้ำน้อย
3.ภาวะลำไส้แปรปรวน
4.การนั่งขับถ่ายอุจจาระนานหรือการเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง
5.ภาวะที่เพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ยกของหนักบ่อย
6.โรคอ้วน
7.ภาวะตับแข็ง ร่วมกับมีน้ำในช่องท้อง
8.ในผู้หญิงตั้งครรภ์
ขั้นตอนการรักษา
ควรเข้าพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย ว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารจริงหรือไม่ เนื่องจากมีโรคหลายชนิดที่มีอาการคล้ายคลึงกับภาวะโรคริดสีดวง เช่น แผลฉีกขาดที่ขอบทวาร ลำไส้ใหญ่อักเสบ ลำไส้แปรปรวน หรือเนื้องอกลำไส้ใหญ่ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคริดสีดวงทวาร แพทย์จะทำการรักษาตามระยะโรคร่วมกับการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น โดยการรักษาอาจมีทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยนอก อาทิเช่น การรัดยางริดสีดวงทวาร การฉีดสารเผื่อทำให้ริดสีดวงฝ่อตัว ส่วนการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี โดยเลือกใช้ตามความเหมาะสมและความรุนแรงของโรคริดสีดวงทวาร
ภาวะถ่ายเป็นเลือดที่ควรระวัง
(หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย)
-ภาวะซีด อ่อนเพลีย
-อืดท้อง ปวดท้องเรื้อรัง
-คลำพบก้อนที่ท้อง
-เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
-ประวัติมะเร็งในครอบครัว
-การขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลง เช่น ท้องผูก ถ่ายบ่อยมากขึ้น อุจจาระเหลว ลำอุจจาระลีบ
-อุจจาระมีมูกเลือดปน
-ปวดหน่วง ถ่ายอุจจาระไม่สุด
การป้องกัน
ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น การนั่งขับถ่ายในห้องน้ำเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยและดื่มน้ำให้เพียงพอ และเมื่อมีภาวะเลือดออกจากการขับถ่ายควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
ขอบคุณข้อมูลจาก …ผศ.นพ.สุวรรณ แสนหมี่ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: