CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ซิฟิลิส หนองใน เยาวชนรุ่นใหม่ อย่า! มองข้าม
9 กุมภาพันธ์ 2567
คณะแพทยศาสตร์
สถานการณ์ของโรคซิฟิลิส ในปี 2564 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อซิฟิลิสจำนวน 1 หมื่นราย คิดเป็น 15 รายต่อ 1 แสนประชากร โดยพบว่าระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนการติดเชื้อที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือเพศชาย 60 เปอร์เซ็นต์ และเพศหญิง 40 เปอร์เซ็นต์ โดยจังหวัดเชียงใหม่มีผู้ติดเชื้อซิฟิลิสสูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ ในขณะเดียวกันสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อหนองในพบได้น้อยกว่าผู้ติดเชื้อซิฟิลิส โดยคิดเป็น 8 รายต่อ 1 แสนประชากร สัดส่วนที่พบคือเพศชาย 90 เปอร์เซ็นต์ เพศหญิง 10 เปอร์เซ็นต์
โรคซิฟิลิส คืออะไร?
โรคซิฟิลิส เป็นกลุ่มการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ที่มีชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม
อาการจะแบ่งเป็นระยะ ได้แก่
1. ระยะที่ 1 เกิดหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน (ช่วงฟักตัว) ระยะนี้ทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศซึ่งเป็นบริเวณที่ใช้มีเพศสัมพันธ์ หากเป็นผู้ชายจะพบรอยโรคบริเวณองคชาต อาทิ ลำองคชาต หรือหัวองคชาต ในขณะที่ผู้หญิงจะพบรอยโรคบริเวณภายในช่องคลอด หากมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก อาจจะมีรอยโรคบริเวณทวารหนักได้ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ทางปากสามารถพบรอยโรคในปากได้ ซึ่งระยะที่ 1 จุดเด่น คือ รอยโรค ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยแผลมีลักษณะเป็นแผลเดี่ยว กลม มีขอบนูนสะอาด ไม่มีน้ำหนอง ไม่เจ็บ สามารถหายเองได้
2.ระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และผื่นขึ้นตามตัวโดยเฉพาะฝ่ามือและฝ่าเท้า ระยะนี้สามารถหายเองได้เช่นกัน
3.ระยะแฝง หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะแฝงตัวอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งสามารถแฝงได้นานนับ 10 ปี ในระยะนี้จะไม่พบรอยโรค และจะไม่มีอาการแสดง มักจะตรวจเจอระยะนี้โดยบังเอิญจากการตรวจเลือด
4.ระยะที่ 3 จะมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนตามระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ภาวะแทรกซ้อนของระบบเส้นเลือดหัวใจ ทำให้เส้นเลือดแดงใหญ่ของหัวใจโป่งพอง และทำให้ลิ้นหัวใจรั่วได้ หรืออาจพบก้อนตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ก้อนที่กระดูก ก้อนที่ข้อ หรือก้อนที่ตับ เป็นต้น หากพบว่าป่วยในระยะแรกแล้วไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นระยะที่ 3 ได้
นอกจากระยะต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว การติดเชื้อสามารถมีการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง ตา และ หูได้ หากมีการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีกได้ ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก มีอาการทรงตัวผิดปกติ หรือความจำเสื่อมได้เช่นกัน หากมีการติดเชื้อที่ตาจะทำให้ตามัว การมองเห็นผิดปกติ หากมีการติดเชื้อที่หูจะทำให้การได้ยินลดลงหรือมีเสียงในหูได้
หนองในคืออะไร?
หนองใน คือ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ มาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรีย
•อาการเฉพาะระบบ
ในเพศชาย หากเป็นหนองใน จะมีอาการ คือ ปัสสาวะแสบขัด บางรายมีหนองไหลออกจากบริเวณปลายท่อปัสสาวะ หรือบางรายปวดบริเวณลูกอัณฑะได้
ในเพศหญิง ที่มีการติดเชื้อมักไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะมีอาการตกขาวผิดปกติ โดยที่ไม่มีอาการคัน หรือมีอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เจ็บตรงอุ้งเชิงกราน ปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัดได้
ในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จะมีปัญหาเรื่องปวดหน่วงลงก้น มีหนองไหล หรือมีสารคัดหลั่งผิดปกติออกมาจากทวารหนักได้ หรือบางรายมีเพศสัมพันธ์ทางปากจะทำให้มีหนองบริเวณต่อมทอนซิลได้
ผู้ป่วยบางรายมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น มีก้อนฝี ในเพศหญิงมีอุ้งเชิงกรานอักเสบที่ทำให้เป็นหมันได้ในอนาคต หรือท้องนอกมดลูกได้ ในเพศชายหากมีท่อน้ำอสุจิหรืออัณฑะอักเสบสามารถทำให้เป็นหมันได้ในอนาคต หรือในรายที่รุนแรงมากเชื้อหนองในสามารถติดเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ และกระจายยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในข้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองได้
ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรค
มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่ใส่ถุงยางอนามัย หรือมีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้
การติดเชื้อโดยปัจจัยอื่นๆ เช่นการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก หากเป็นโรคซิฟิลิส สามารถติดได้ตั้งแต่เป็นทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ หรือติดในขณะที่แม่กำลังคลอดได้
แต่ในปัจจุบันการฝากครรภ์จะได้รับการคัดกรองจากแพทย์ ส่วนใหญ่เมื่อคุณแม่ได้รับการฝากครรภ์ที่เหมาะสมจะได้รับการดูแล ตรวจ และรักษาเรื่องซิฟิลิส โอกาสที่จะแพร่สู่ทารกจะมีน้อย หากไม่ได้รับการรักษาหรือตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ ทารกจะมีโอกาสได้รับเชื้อ ซึ่งส่งผลให้ทารกมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น มีน้ำหนักตัวน้อย การเจริญเติบโตไม่ค่อยดี ทำให้คุณแม่แท้งได้ หรือทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ ในส่วนของหนองใน จะติดจากแม่สู่ลูกได้แต่จะเป็นตอนที่คลอด ตำแหน่งที่ติดส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณที่ตา เด็กจะเป็นหนองในที่ตา หากเด็กไม่ได้รับการรักษาจะเกิดภาวะแรกซ้อนของโรคได้
ซิฟิลิส และหนองใน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะโรคเหล่านี้เป็นโรคติดเชื้อ หากได้รับยาปฏิชีวนะสามารถทำให้รักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากประสิทธิภาพของยาและการรักษาในปัจจุบันดีมาก และควรแนะนำคู่นอนเข้ารับการรักษาด้วย แต่อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้ เนื่องจากผู้ป่วยรับเชื้อใหม่ทำให้กลับเป็นซ้ำอีกครั้งได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: อ.พญ.กวิสรา กระแสเวส
อาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: